นักดนตรีอิสระ อาชีพที่ถูกลดทอนความสำคัญ

จากประสบการณ์การเป็นนักดนตรีอิสระ มองเห็นว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ถูกลดทอนความสำคัญลง สังเกตได้จากค่าตัวนักดนตรีกลางคืนที่ตัดราคาจนเหลือรอบละไม่กี่ร้อยบาท แล้วคนที่ประกอบอาชีพนี้แล้วมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการจุนเจือครอบครัวมักจะมีเส้นสายในแวดวง นักดนตรีที่ไม่มีเส้นสายจึงมีหลากหลายวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งงาน รวมไปถึงวิธีตัดราคาที่ได้กล่าวไปแล้วด้วย นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้งานเล่นลดน้อยลงมาก หลาย ๆ คนจำเป็นต้องย้ายสายงานทั้ง ๆ ที่อาจไม่เคยมีประสบการณ์ในสายงานนั้นมาก่อน เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพ

รัฐสวัสดิการในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยุคโควิด

“ถ้าคุณเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางระดับบน หรือชนชั้นสูง ก็สามารถตามหาความหมายของจักรวาลได้ หากเกิดมายากจน รักดีแค่ไหนก็ได้แต่ทำงานร้านสะดวกซื้อ คนเราจึงถูกขังด้วยชาติกำเนิด สิ่งเดียวที่แก้ไขได้คือ รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ครบวงจร ข้อเสนอนี้ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ แต่ปรีดี พนมยงค์ เคยเสนอเมื่อปี 2475 แล้ว คือ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนให้ทุกคนปลอดภัย ตอนนั้นเสนอให้คนมีเงินเดือนเดือนละ 20 บาท เทียบปัจจุบันคือ 4000 บาท ในทางสากล เรียกว่าเงินเดือนพื้นฐานถ้วนหน้า เป็นข้อเสนอที่ก้าวหน้าที่สุด ในปัจจุบันที่รัฐบาลฟินแลนด์กำลังทดลองอยู่ แต่ไทยเสนอเมื่อ 80 ปีก่อน แต่ชนชั้นนำไทยไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องการคือ เงินจากบาทแรกถึงบาทสุดท้าย ต้องบรรจุพยาบาล ไม่ใช่นายพลต้องเลี้ยงดูคน 20 ล้านครอบครัว ต้องการรถเมล์ ไม่ใช่เรือดำน้ำ เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องการประชาธิปไตย หาใช่เผด็จการ!” การประชุมใหญ่บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ในวันที่ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ของกลุ่มราษฎร กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีแกนนำหลักคือเหล่านักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การขึ้นปราศัยบนเวทีล้วนมีทั้งนักศึกษา บางกลุ่มแรงงาน… Continue reading รัฐสวัสดิการในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยุคโควิด

แรงงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปลายปี 2562 นำมาสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจากการปิดกิจการและลดระดับการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ นับว่าเป็นการเปิดแผลความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมและความเปราะบางของชีวิตของคนไทยจากการขาดสวัสดิการรองรับ ที่ผ่านมาในสังคมไทยจะมีภาพการขายวัว ขายควาย จำนำครกสาก และเครื่องมือทำมาหากินเพื่อส่งลูกเรียน การที่เยาวชนต้องออกจากระบบการศึกษากระทันหันเพราะไม่มีเงินใช้จ่าย และการนำที่นาไร่สวนไปจำนองเพราะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือการที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบจนต้องไปกู้นอกระบบดอกเบี้ย 10-30% ต่อเดือน เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่พบเห็นโดยทั่ว ทว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยขาดความมั่นคงในชีวิต จากค่าแรงรายวันคนไทยอยู่ที่ 300-500 บาท เงินเดือนระดับปริญญาตรีเริ่มที่ 15,000-20,000 บาท คนไทยมีเงินในกระเป๋าน้อยมากเมื่อเทียบทุกระเบียดนิ้วของชีวิตคนไทยที่ถูกทำให้เป็นสินค้าที่ต้องซื้อหาในราคาที่แพงลิ่วตั้งแต่การศึกษา การรักษาพยาบาล และการเดินทาง เราจึงเห็นว่าที่ผ่านมาหนี้ครัวเรือนไทยเพื่อการบริโภคพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับอัตราหนี้เสียในระบบ การที่กำลังซื้อคนไทยหดหาย ศักยภาพในการใช้คืนหนี้ตกต่ำ ล้วนมาจากรายได้ที่ลดลงของคนไทย ที่สอดคล้องกับจำนวนผู้ตกงานและการปิดกิจการที่สูงขึ้น ผลจากมาตรการสั่งปิดสถานประกอบการโดยไม่มีเงื่อนไขหรือมาตรการรองรับ ส่งผลให้นายจ้างหลายราย ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ต่างปลดกำลังคนออกเป็นจำนวนมาก กลุ่มแรงงานในระบบที่มักถูกเลิกจ้างเป็นกลุ่มแรกนั่นคือ กลุ่มแรงงานซับคอนแทรค(sub-contract) และแรงงานกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบอย่างสาหัส จากงานที่ไม่มั่นคงและไม่มีสวัสดิการรองรับ คือ แรงงานนอกระบบ ที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาแจกเงิน “เราไม่ทิ้งกัน” ช่วงกลางปี 2563 ด้วยวงเงินเยียวยารวมกว่า 15,000… Continue reading แรงงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19