จดหมาย ร.5 ถึงกรมพระยาดำรงฯ เรื่องเลิกทาส

ระบบเศรษฐกิจและการผลิตแบบใหม่ที่อาศัยแรงงานรับจ้างเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตกได้ขยายตัวคืบคลานไปทุกพื้นที่ของโลกไม่เว้นแม้แต่สยามประเทศ ระบบการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบดั้งเดิม กลายเป็นเรื่องป่าเถื่อน ล้าสมัยและเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เกิดกระแสเรียกร้องจากชนชั้นล่างของสังคมเพื่อให้ยกเลิกพันธนาการ และการขูดรีดแรงงานในระบบศักดินา รูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือการลุกขึ้นก่อกบฏของไพร่ในหลายพื้นที่ หลายช่วงเวลา และที่สำคัญแหล่งอำนาจและความมั่งคั่งของชนชั้นนำในสังคม ณ ช่วงเวลานั้นหาได้มาจากการบังคับเกณฑ์แรงงานแบบเดิมอีกต่อไป

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สภาวะจำยอมในการตราพระราชบัญญัติยกเลิกระบบไพร่-ทาสจึงเกิดขึ้นและมีผลบังคับใช้ในกาลต่อมา ทั้งจากเหตุผลข้างต้นและเหตุผลด้านการเมืองภายในประเทศ ผลของการยกเลิกระบบไพร่-ทาส ซึ่งนับเป็นการลดอำนาจของกลุ่มขุนนางลงด้วยในทางปฏิบัติในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ทำให้ประชากรสยามในขณะนั้นที่มีราว 8.13 ล้านคน ซึ่งเป็นเจ้านายขุนนางที่ถือเป็นชนชั้นปกครองประมาณ 1 ล้านคน กลุ่มคนที่เป็นไพร่ 5.78 ล้านคน และทาส 1.35 ล้านคน มีฐานะเท่าเทียมกันในทางทฤษฎี

เอกสารทางประวัติศาสตร์ข้างต้น เมื่อรัฐบาลมีนโยบายเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป รัชกาลที่ 5 ได้ทำจดหมายบันทึกถึงกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้เตรียมการให้การศึกษากับบรรดาลูกทาสที่จะได้เป็นไทหลังอายุครบ 20 ปี เพื่อให้มีความรู้ไปทำมาหากินไม่ขายตัวลงเป็นทาสอีกต่อไป

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *