เทียนวรรณ

เทียนวรรณ หรือ เทียน วัณณาโภ นามปากกา “ต.ว.ส. วัณณาโภ”  (พ.ศ. 2385 – 2458) นับเป็นหนึ่งในปัญญาชนหัวก้าวหน้าที่ปรากฏขึ้นในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยปัญญาชนหลายคนในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้เห็นถึงความสำคัญและความทุกข์ยากของผู้ใช้แรงงาน จนเกิดการสะท้อนปัญหา ตลอดจนเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง ผ่านการใช้ปากกาและงานเขียนของตน หรือเคลื่อนไหวเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับผู้ใช้แรงงาน และหนึ่งในปัญญาชนนักคิดเหล่านั้นก็คือ “เทียนวรรณ” 

เทียนวรรณ เป็นนักคิดสามัญชนรุ่นบุกเบิก เป็นทนายความ และเป็นผู้ทำหนังสือตุลวิภาคพจนกิจ และหนังสือศิริพจนภาค ออกมาเพื่อเผยแพร่ความคิดสมัยใหม่ เขาเป็นผู้เล็งเห็นความสำคัญของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในขณะยุคสมัยนั้นที่ถูกเรียกขานว่า “ไพร่-ทาส” เขาเรียกร้องให้นำเอาระบบรัฐสภามาใช้ในการเมืองไทย เพื่อให้ผู้คนได้เสมอภาคกันในสังคม และนั่นทำให้เขาต้องถูกคุมขังอยู่นานถึง 17 ปี เนื่องจากความคิดของเขาก้าวหน้าเกินกว่าที่ผู้ปกครองในสมัยนั้นจะรับได้

ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ

ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ

แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ

จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย

ขอให้เห็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก

บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี

ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี

จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่างนิ่งนาน

ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก

จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน

เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล

รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *