นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง

การฝึกงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนอาชีวะ หรือนักศึกษาฝึกงานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กลับไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายที่มีการตั้งข้อกำหนดของการฝึกงานที่แน่ชัด จนไปถึงการนิยามคำว่า “ผู้ฝึกงาน” ที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างที่นายจ้างใช้ประโยชน์จากผู้ฝึกงานเป็นแรงงานราคาถูกนอกกฎหมาย โดยที่กฎหมายแรงงานไม่สามารถคุ้มครอง และเกิดปัญหาการฝึกงานที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้แรงงานขาดทักษะที่ควรได้รับจากการฝึกงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในกลุ่มแรงงานจบใหม่เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ปัญหานี้ก่อตัวเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษของโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงาน ประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการฝึกงาน เพื่อคุ้มครองผู้ฝึกงาน พัฒนาทักษะแรงงานจบใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำของผู้ฝึกงาน และลดอัตราการว่างงานของแรงงานจบใหม่ภายในประเทศ  จึงมีการศึกษานโยบายตัวอย่างของต่างประเทศ และรวบรวมข้อเสนอเพื่อนำมาผลักดันในสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกัน ผ่าน 6 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จัดทำพระราชบัญญัติการฝึกงานให้ครอบคลุม 12 ประการ 2) นายจ้างจะต้องทำประกันคุ้มครองให้แก่ผู้ฝึกงาน 3) ผู้ฝึกงานสามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานได้ 4) จัดให้มีการลงทะเบียนสถานประกอบการที่สามารถเปิดรับผู้ฝึกงาน เพื่อให้มีคุณภาพและตรวจสอบการฝึกงานให้เป็นไปตามมาตรฐานตลอดกระบวนการฝึกงานได้ 5) จัดให้มีการจัดสอบวัดผลหลังจบการฝึกงาน เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของผู้ฝึกงานและสถานประกอบการ 6) รัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโครงการค่าจ้างผู้ฝึกงานคนละครึ่งกับสถานประกอบการ ในอัตราส่วนละ 50% ทั้งนี้หน่วยงานของภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ข้อเสนอการยกระดับการฝึกงานในประเทศไทยชุดนี้ ได้ถูกเสนอผ่านคณะอนุกรรมาธิการด้านการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรัฐสภา เมื่อเดือนมีนาคม 2564… Continue reading นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง

รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ถูกพูดถึงในสังคมวงกว้างเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการระบาดทั่วของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 การระบาดใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้ประชาชนทุกคนเดือดร้อนและลำบากโดยทั่วกัน เนื่องด้วยมาตรการการรองรับต่าง ๆ รวมถึงการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึง ตกหล่น และคัดกรองหลายขั้นตอนจนทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนเข้าไม่ถึงสวัสดิการต่าง ๆ สถานการณ์ระบาดครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการรื้อปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถูกกลบอยู่ใต้พรมโผล่ออกมาให้ทุกคนได้เห็นอย่างถ้วนหน้า เกิดการวิพากษ์ระบบสวัสดิการในประเทศ ตลอดจนมีการนำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นในสังคมทั้งเวทีเสวนาทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่แท้จริงแล้ว ในประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องนี้มาอย่างช้านาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนที่มีเงื่อนไขสวัสดิการและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรก  อันเป็นภาพสะท้อนจากการต่อสู้ทางชนชั้น ในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า ที่มีการรวมกลุ่มของสหภาพแรงงาน มีลักษณะสำคัญคือระบบอัตราภาษีก้าวหน้า โดยเน้นสวัสดิการในฐานะสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งแตกต่างจากระบบสวัสดิการแบบกลไกตลาดที่ปัจเจกรับผิดชอบสวัสดิการของตัวเองหรือการลงทุนผ่านประกันเอกชน และรูปแบบประกันสังคมที่เน้นไปที่ผู้ทำงานผ่านระบบการจ้าง รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า นับว่าเป็นข้อเสนอหลักของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดย ปรีดี พนมยงค์ รวมถึงขบวนการแรงงานหลังจากนั้นทุกยุคสมัย แม้แต่ช่วงการแตกแยกทางอุดมการณ์สองสีเสื้อ รัฐสวัสดิการก็ยังเป็นคำที่ถูกใช้และช่วงชิงอยู่เสมอระหว่างขบวนการแรงงานด้วยกัน หรือแม้แต่ฝั่งทุนก็ตาม แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่การรวมตัวของประชาชน นักศึกษา และแรงงาน สามารถสร้างแรงกดดันขับไล่ให้ 3 ทรราชย์ ถนอม ประพาส ณรงค์ ต้องหมดอำนาจและออกไปจากประเทศได้… Continue reading รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

ค่าแรงขั้นต่ำในไทย

การนัดหยุดงานของกรรมกรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เพื่อเรียกร้องเรื่องค่าแรงและสวัสดิการอย่างเป็นธรรม เริ่มมีการยกระดับและเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลถูกกดดันจนตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าแรงขั้นต่ำขึ้น และสุดท้ายก็มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำครั้งแรกเกิดขึ้น ในวันที่ 17 เมษายน 2516 ในราคาที่ 12 บาท ถือได้ว่าเป็นอัตราที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในขณะนั้น เฉกเช่นเดียวกันกับปัจจุบันที่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ในราคาเพียง 313-336 บาท จะพบได้ว่าจากระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งสิ้น 48 ปี มีการปรับค่าแรงทั้งสิ้น 49 ครั้ง และช่วงที่การปรับค่าจ้างทิ้งช่วงนานที่สุดคือหลังรัฐประหารโดย คสช. โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำทิ้งช่วงนาน 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 ในขณะที่ช่วงหลังวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 มีการทิ้งช่วงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 1 ปี 3 เดือนเท่านั้น (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 ถึง 1 มกราคม… Continue reading ค่าแรงขั้นต่ำในไทย

แรงงานแพลตฟอร์มในไทย

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้ก่อให้เกิดสภาวะหยุดชะงัก (disruption) ทั้งในทางเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ตลาดแรงงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก นี่ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น บทบาทของการจับคู่ตลาดแรงงานดิจิทัลจึงเพิ่มสูงขึ้น หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม แรงงานกำลังหางานและทำงานผ่านทางแพลตฟอร์มและแอ๊ปเอาท์ซอร์สออนไลน์ซึ่งเรียกว่าเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม(platform economy) จริง ๆ แล้วการจ้างงานแบบที่เรียกว่า Gig work หรือการจ้างงานแบบชั่วคราวไม่ผูกพันนั้นได้เกิดขึ้นและถูกพูดถึงมาหลายปีพอสมควรแล้ว แต่สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มนั้นยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ การเติบโตของระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มนั้นแม้จะเป็นช่องทางและเปิดโอกาสใหม่ให้กับการจ้างงาน ที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งงาน มีช่องทางทำมาหากิน หารายได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเดียวกันก็ได้ สร้างปัญหาใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานและความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แรงงานจำนวนมากที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ ที่มีมากมายหลายรูปแบบกำลังเผชิญกับปัญหาและถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนักหน่วงอันเป็นผลมาจากการเข้าทำงานบนแพลตฟอร์ม อีกทั้งปรากฏการณ์การระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2563 และดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการทั่วทุกหนแห่ง การผลิตแบบ supply chain ซึ่งเป็นการผลิตแบบพึ่งพิงการทำงานที่เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายการผลิตที่มีขอบเขตที่กว้างขวางข้ามพรมแดนซึ่งเติบโตขึ้นและแพร่ระบาดไปทุกภูมิภาคของโลกก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบและความเสียหายอย่างไม่เคยมีการคาดคิดมาก่อน อุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการจำนวนมากมายต้องหยุดชะงัก หลายกิจการต้องปิดตัวลง ผู้คนมากมายต้องตกงานและจำนวนมากได้ถูกผนวกเข้าสู่การจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มอย่างไม่มีทางเลือก ปรากฏการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้การจ้างงานบนแพลตฟอร์มเติบโตและขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้ประเด็นการจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจึงเป็นประเด็นใหญ่และมีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก แม้การจ้างงานชนิดนี้จะเกิดและพัฒนามาระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่ทั่วทุกหนแห่งบนโลก การศึกษาวิจัยค้นคว้าในหัวข้อดังกล่าวจึงหัวเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน

แรงงานเสี่ยง

แรงงานเสี่ยง (Precariat, Precarious Prolettariat) กลุ่มชนชั้นใหม่ซึ่งนิยามโดย Guy Standing (2011) ซึ่งชี้ให้เห็นพลังการผลิตแบบใหม่ในสังคมเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำงานในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ชั่วคราว อันเป็นผลจากการปรับตัวของความสัมพันธ์การผลิตแบบทุนนิยมใต้กระแสเสรีนิยมใหม่ เพื่อลดอำนาจการต่อรองของชนชั้นกรรมาชีพที่มีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้นจากการสะสมความขัดแย้งในวิถีการผลิตทุนนิยม แรงงานเสี่ยงนอกจากต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองแล้วยังต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในระบบทุนนิยมอื่น ๆ ที่ถ่ายโอนมาจากชนชั้นนายทุน เช่น แรงงานเหมาค่าแรง ทำงานรายชิ้น คนงานรับงานกลับมาทำที่บ้าน แรงงานตามฤดูกาล หรือแรงงานข้ามชาติ กลุ่มแรงงานเสี่ยงขยายตัวโดยมิได้รู้สึกผูกพันหรือมีส่วนร่วมในองค์กรวิชาชีพใด ทำให้ชีวิตของพวกเขาผ่านกระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่เข้มข้นส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาความทรงจำร่วมในสังคมการผลิต ในบริบทไทยแล้วนับตั้งแต่ปี 2553 กลุ่มแรงงานเสี่ยงมีการขยายตัวอย่างมาก ในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานแพลตฟอร์ม ฟรีแลนซ์ พนักงานชั่วคราว ผู้ประกอบการเหนือแรงงานตัวเอง กลุ่มนี้มีลักษณะชั่วโมงทำงานสูง รายได้ต่ำ ไร้อำนาจการต่อรองและรวมตัวต่อรองได้ยาก ยิ่งสังคมมีความมั่นคั่งเท่าไหร่ พวกเขากลับมีความไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว กลุ่มแรงงานเสี่ยงจึงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเข้าแทนชนชั้นกรรมาชีพเดิม เพื่อรองรับการสะสมทุนที่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่เข้มข้นมากขึ้น การเกิดขึ้นและขยายตัวของแรงงานเสี่ยงในกระบวนการสะสมทุนแบบเสรีนิยมใหม่ ก่อให้เกิดวิกฤตความชอบธรรมของระบบทุนนิยมเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าแม้การขยายตัวของแรงงานเสี่ยงจะเอื้อต่อการสะสมทุน แต่ในทางกลับกันก็ทำให้ระบบทุนนิยมเผชิญหน้ากับความเปราะบาง ซึ่งขบวนการแรงงานเองมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเพื่อให้การเรียกร้องสอดรับต่อวิถีการสะสมทุนที่เปลี่ยนแปลงไป และป้องกันการขยายตัวของแรงงานเสี่ยง เนื่องจากจะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานไม่มีอำนาจต่อรอง อ้างอิง ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี. “ชนชั้นแรงงานเสี่ยง กลุ่มคนชายขอบบนศูนย์กลางทุนนิยมเสรีนิยมใหม่.” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปีที่ 43,… Continue reading แรงงานเสี่ยง

การเมืองเหลือง-แดงในขบวนการแรงงาน

การเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องจากเรื่องกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ จากรัฐบาลชวน หลีกภัย จนกระทั่งรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ผู้นำแรงงานบางส่วน อาทิ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ประกาศเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) อย่างชัดเจน โดยมีแกนนำจากฝั่งแรงงาน สรส. ร่วมด้วย พร้อมเป้าหมายการเรียกร้องหลักคือต่อต้านนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การออกมาเคลื่อนไหวดังกล่าวของขบวนการแรงงานรัฐวิสาหกิจและภาคประชาสังคมนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล กลายเป็นเงื่อนไขของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในที่สุด ภายหลังการรัฐประหาร การเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงแตกแยกและขยายเป็นวงกว้างในสังคม ไม่เว้นแม้แต่ในขบวนการแรงงาน แรงงานอีกกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างกัน ได้สนับสนุนและเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร ในนามแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเคลื่อนไหวที่กำเนิดขึ้นและเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนหลังรัฐประหารครั้งนี้ โดยมีกลุ่มสหพันธ์แรงงานสิ่งทอฯ ประกาศตัวชัดเจนในการเข้าร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในงานวันสตรีสากลปี 2549 ก่อนการรัฐประหาร ในปี 2550-2551 ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แรงงานเริ่มมีการรวมกลุ่มขึ้นใหม่อีกหลายกลุ่ม เช่น สมัชชาแรงงาน และเริ่มมีการร่วมออกแถลงการณ์เรียกร้องเชิงนโยบายทางสังคมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ อาทิ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ (ปัจจุบันคือกลุ่ม Try… Continue reading การเมืองเหลือง-แดงในขบวนการแรงงาน

กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

ทศวรรษที่ 1980 กระแสโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ได้แพร่กระจายไปในขอบเขตทั่วโลก ได้ทำให้เกิดนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกแห่งหนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แม้เดิมทีแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจะท้าทายต่อการดำรงอยู่ของกิจการรัฐวิสาหกิจไทยทุกยุคสมัยก็ตาม ภายหลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก ที่ตั้งเงื่อนไขให้ไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องถูกขายให้แก่เอกชนไป ทำให้มีการลุกขึ้นคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโดยพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง และประชาชนทั่วไป มีการใช้ผ้าแดงคาดศรีษะ หมวก รวมถึงผ้าแดงพันคอที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงคัดค้านการตรากฎหมาย  11 ฉบับ หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายขายชาติ การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกกฎหมายขายชาติ ที่มีกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และองค์กรประชาธิปไตยต่าง ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ตั้งแต่กฎหมายชุดเศรษฐกิจนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ ชวน หลีกภัย หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวหลายเครือข่าย โดยมีองค์กรแรงงานที่ประกาศตัวชัด คือ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นตัวแทนร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติปี พ.ศ. 2545 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการผลักกฎหมายพิจารณาผ่านรัฐสภาและประกาศบังคับใช้ แม้ช่วงหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้าจะประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านกับกฎหมายชุดนี้ จึงนำมาสู่การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี… Continue reading กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

ผ้าแดงโพกหัวรณรงค์ หญิงไทยไม่ใช่ทาส

ผ้าโพกศีรษะสีแดง “หญิงไทยไม่ใช่ทาส” ชิ้นนี้ทำขึ้นโดยนักสหภาพแรงงานสตรีใช้คาดหัวในการรณรงค์เรียกร้องสิทธิของสตรีในวันสตรีสากล 8 มีนาคม ปี 2546 หลังจากนั้นไม่ปรากฎการใช้ผ้าโพกศรีษะผืนนี้ในขบวนรณรงค์เรียกร้องสิทธิในวันสตรีสากล โดยในช่วงหลังจะเป็นการใช้ผ้าสีม่วง และใช้เสื้อเป็นสัญลักษณ์แทนผ้าโพกศรีษะ การเดินขบวนรณรงค์เรียกร้องสิทธิในวันสตรีสากลวันนั้น นำโดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงจาก 37 องค์กร และมีผู้เข้าร่วมเดินขบวนจำนวนกว่า 200 คน จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสิทธิสตรีในที่ทำงาน 6 ข้อ แก่นายกรัฐมนตรี ดังนี้ ให้แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 15 เรื่องการเกษียณอายุการทำงานของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย ให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 39 กรณีการจ่ายเงินสมทบของคนงานตกงาน ให้รัฐบาลเร่งจัดตั้งกองทุนสำหรับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง เช่น กรณีนายจ้างย้ายฐานการผลิต เป็นต้น โดยให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน ให้จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ขยายกฎหมายให้คุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น สร้างกลไกในการพัฒนาและส่งเสริมให้แรงงานหญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายทุกระดับ

รณรงค์ยกเลิกจ้างเหมาช่วง

หลังเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู ยิ่งก่อให้เกิดการเร่งการผลิตและการจ้างงานในปริมาณมากในระบบสายพาน แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่มากขึ้นแต่ต้นทุนยังคงต่ำ สภาพการจ้างงานรูปแบบจ้างเหมาค่าแรงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มทุน เพราะนอกจากต้นทุนค่าแรงถูกแล้ว ยังไม่มีต้นทุนทางสวัสดิการให้สถานประกอบกิจการต้องรับผิดชอบ และจ้างงานได้ง่าย เลิกจ้างได้เร็วโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ เมื่อต้องการปรับลดต้นทุนการบริหาร ระบบอุตสาหกรรมแต่ละแห่งจึงเน้นการจ้างแรงงานเหมาค่าแรงมากกว่า หรือใช้ทดแทนแรงงานประจำบางส่วน รวมถึงเป็นการลดทอนอำนาจการต่อรองในสหภาพแรงงานได้อีกทอด ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศไทยได้มีการผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายเปิดเสรีอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยให้สิทธิพิเศษแก่นายทุนที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศไทยเพื่อดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค ยิ่งส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่องทั้งระบบและเกิดการขยายตัวการจ้างงานรูปแบบจ้างเหมาค่าแรงในปริมาณมากให้ตอบโจทย์และแข่งขันในระบบทุนนิยมได้ แรงงานในระบบจ้างเหมาค่าแรงจึงมักตกหล่น ไม่ได้รับสิทธิแรงงานตามกฎหมายแรงงานไทยอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคเมื่อเทียบกับแรงงานประจำ จึงเปรียบได้ว่าเป็นการเติบโตบนการขูดรีดผลประโยชน์และความมั่นคงในชีวิตของแรงงานจ้างเหมาค่าแรง  แม้จะมีการแก้ไขกฎหมายใหม่หลายครั้ง เพื่อให้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อแรงงานรับเหมาค่าแรง ในทางปฏิบัติแรงงานรับเหมาค่าแรงยังคงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรมจนถึงปัจจุบัน และยังคงมีการจ้างงานแรงงานรับเหมาค่าแรงอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมหนักผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรง เหตุผลหลักของแรงงานที่เลือกทำงานเป็นลูกจ้างเหมาค่าแรง หรือผ่านบริษัทรับเหมาค่าแรงนั่นคือ บริษัทรับเหมาค่าแรงทำให้แรงงานเข้าถึงงานได้จริง ง่าย รวดเร็ว แม้มีคุณสมบัติที่ไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนดไว้ และได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการที่คำนวณเป็นตัวเงินแตกต่างจากแรงงานประจำประมาณเดือนละหลายพันบาทต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานไทย และการยอมรับต่อความเหลื่อมล้ำในการจ้างงาน แม้จะมีแรงงานรับเหมาค่าแรงถูกละเมิดสิทธิ และไร้ความมั่นคงในการทำงานก็ตาม  อ้างอิง มนตรี ปานแดง และ สุภาพร นาจันทัศ. การละเมิดสิทธิแรงงานในระบบการจ้างเหมาค่าแรงในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะ. กรุงเทพฯ: ศูนย์อเมริกันเพื่อแรงงานนานาชาติ, 2549. สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์. “จ้างเหมาค่าแรง สะท้อนคุณภาพชีวิตแรงงานไทย” สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.… Continue reading รณรงค์ยกเลิกจ้างเหมาช่วง

สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็ก

เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม พ.ศ. 2540 แรงงานกลุ่มต่าง ๆ ยังคงมีการจัดกิจกรรม รณรงค์ รวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเช่นเดิมในทุก ๆ ปี เพียงแต่ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในปีนี้นั้น คณะทำงานสตรีสากล ซึ่งประกอบไปด้วย ฝ่ายสตรีสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรี ได้ร่วมกันเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในเรื่อง “สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ในย่านอุตสาหกรรมและชุมชน” ให้เพียงพอ โดยรัฐต้องจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนให้ส่วนนี้แก่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้สามารถจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กได้ พร้อมทั้งเน้นการให้บริการเลี้ยงดูบุตรก่อนวัยเรียนของลูกจ้างและประชาชนที่มีรายได้ต่ำในชุมชนหรือย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมถึงองค์กรชุมชน องค์กรแรงงาน ตลอดจนแรงงานในท้องถิ่นในย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง บริหาร และการจัดการให้มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างแท้จริง หากแต่ระยะเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน นโยบายด้านดังกล่าวกลับไม่ถูกพูดถึง แม้ในสภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายด้านงบประมาณ ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างศูนย์เด็กเล็กในท้องถิ่นก็ตาม อ้างอิง บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. ขบวนการสหภาพแรงงานไทยจาก รสช. ถึงยุค IMF. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอารมณ์… Continue reading สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็ก