ผ้าโพกศีรษะรณรงค์เรื่องประกันการว่างงาน ขบวนการแรงงานหลายกลุ่มพยายามเรียกร้องสิทธิว่างงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจนทำให้แรงงานถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ทำให้กระแสการเรียกร้องยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกระแสจากแรงงานสิ่งทอ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ได้เริ่มจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ความสำคัญประกันสังคมด้านการว่างงาน ตั้งแต่เดือนแรกของปี 2540 รวมทั้งมีการจัดงานร่วมเสนอข้อมูล ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนในสมาชิกสหภาพกับประชาชนทั่วไปเพื่อเตรียมพร้อมทางความคิดตลอดทั้งปี แม้ว่าในช่วงวิกฤติ สำนักงานประกันสังคมจะลดอัตราเงินสมทบจากอัตรา 1.5 ของค่าจ้างให้เหลือ 1% ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541-2543 ก็ตาม แต่ลูกจ้างหลายกลุ่มมองว่า คนตกงานจำนวนมากยังขาดหลักประกันสังคมที่รองรับอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ ควรคิดการขยายสิทธิประโยชน์ไปช่วยคนงานที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับสวัสดิการจากกองทุนฯมากขึ้นแทนการลดเงินสมทบ จนกระทั่งในวันที่ 27 กันยายน 2544 คณะกรรมการประกันสังคม ได้มีมติให้ความเห็นชอบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การดำเนินงานประกันสังคม กรณีการว่างงาน ตามที่คณะอนุกรรมการเตรียมการประกันสังคมกรณีการว่างงานเสนอ แม้รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานจะพยายามหลีกเลี่ยงและยืดระยะเวลาในการบังคับใช้กรณีการว่างงานออกไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ก็ตาม ภายหลังจึงมีการประกาศใช้ โดยเริ่มเก็บเงินสมทบตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 และเริ่มจ่ายประโยชน์ทดแทน 1 ก.ค. 2547 โดยรัฐบาลไทยรักไทย และต่อเนื่องไปจนถึงสมัยพรรคชาติพัฒนาเป็น รมว. ได้ประกาศใช้ แม้ในช่วงแรกจะประสบปัญหาด้านเทคนิค อาทิ ความล่าช้าของระบบประกันสังคม เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศมีอยู่เพียง 85… Continue reading เราสู้! เพื่อประกันการว่างงาน
Author: admin
จักรอุตสาหกรรมดาวรุ่งไทยในอดีต
จักรเย็บผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นับว่าเป็นเครื่องจักรและอุตสาหกรรมดาวรุ่งของประเทศไทยในอดีตเป็นอย่างมาก แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 หลายธุรกิจล้มละลาย ประกอบกับการย้ายฐานการผลิตขนานใหญ่ เพื่อไปแสวงหาแรงงานราคาถูกในการผลิต สำหรับการแข่งขันในตลาดเสรี ทำให้โรงงานสิ่งทอมีการปิดตัวลงจำนวนมาก คนงานถูกเลิกจ้างนับหลายหมื่นราย ตัวอย่างคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกย่านรังสิต บริษัท ไทยแอร์โร่การ์เม้นท์ มีคนงานประมาณ 3,000 กว่าคน และบริษัท ไทยแอร์โร่ (บริษัทใหญ่) มีคนงานอีกประมาณ 2,000 กว่าคน รวมทั้งสองโรงงานในเครือ มีคนงานประมาณ 5,000 กว่าคน ถูกเลิกจ้างกระทันหันและนายจ้างไม่มีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่แรงงานได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง รวมถึงความไม่เป็นธรรมจากกฎหมาย และนายจ้างเป็นอย่างมาก จนมีการรวมตัวกันฟ้องศาล เจรจาข้อเรียกร้องในปี 2542 และยืดเยื้อกินระยะเวลาถึงปลายปี 2543 เพื่อยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในโรงงาน นำเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ออกประมูลขาย เพื่อให้ได้เงินกลับมาเยียวยาคนงานกันเอง ภายหลังจากโรงงานปิดตัวลง แต่ถึงกระนั้นเงินที่ได้รับจากการประมูลขายก็ยังไม่เพียงพอในการจ่ายให้ครบทุกคน และไม่เพียงพอต่อค่าชดเชยที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ปี 2542 เจรจาข้อเรียกร้อง
แรงงานภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
ชุดฟอร์มโรงงานสิ่งทอ บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด โรงงานหนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวนมากที่ต้องปิดตัวลงไปจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมสิ่งทอระดับโลก และจากการได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกลางปี 2540 หรือที่เรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบตกอยู่ในสภาวะวิกฤต การลงทุนหยุดชะงัก ธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมจำนวนมากปิดตัวลง โดยเฉพาะโรงงานสิ่งทอ วิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้รัฐบาลจำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก พ่วงด้วยเงื่อนไข IMF ที่ก่อให้เกิดชุดกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ หรือที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น กฎหมายขายชาติ ที่หนึ่งใน 11 ฉบับมีกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ ที่ก่อให้เกิดการลุกฮือคัดค้านหลายระลอกตามมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ ส่งผลให้แรงงานในระบบถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก โดยมีข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า มีจำนวนลูกจ้างถูกเลิกจ้างตลอดปี 2540 เป็นจำนวน 408,557 คน และตัวเลขยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงสิ้นปี 2541 มีลูกจ้างถูกเลิกจ้างและลาออกอีกอย่างต่ำ 2.9 แสนคน รวมทั้งสิ้นเกือบ 7 แสนคน ยังไม่นับรวมกิจการขนาดเล็ก กิจการก่อสร้างที่ไม่ได้แจ้งเข้าระบบประกันสังคมอีกด้วย และที่สำคัญ แรงงานส่วนใหญ่เหล่านี้มักไม่ได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ใช้แรงงานในหลายกิจการถูกลดค่าจ้าง รวมถึงสวัสดิการ มีการเอารัดเอาเปรียบหลากหลายรูปแบบในวิกฤตช่วงนั้น โดยมีข้อมูลจากศาลแรงงานกลางระบุว่า จำนวนคดีที่ขึ้นสู่ศาลแรงงาน… Continue reading แรงงานภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
ผ้าโผกหัวรณรงค์ทวงสิทธิกรณีเคเดอร์
“…เห็นข่าวลูกสาวเศรษฐีแต่งงานเป็นงานช้างของขวัญล้นหลามอดสะท้อนใจถึงคนงานหญิงหลายชีวิตในโรงงานที่ตระกูลของท่านเป็นเจ้าของร่วมอยู่ไม่ได้เธอเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้เสวยสุขแม้เพียงกระผีกริ้นของท่านเศรษฐีทั้งหลายตายไปโดยชะตากรรมเธอไม่ได้เลือกและโดยความทารุณที่สร้างขึ้นทางอ้อมจากเส้นทางที่นำไปสู่ความเป็นเศรษฐีของคนที่กินแรงงานของเธอค่าชีวิตของเธอกลับถูกต่อรองคนเขาหาว่าเธอเป็นแค่แรงงานหญิงค่าไม่ควรเกินแสนบาททำไมชีวิตของคนที่ทำงานหนักหาเลี้ยงคนอื่นให้กำไรกับนายจ้างให้ค่าเล่าเรียนแก่น้องให้ความอยู่รอดกับพ่อแม่ให้อนาคตกับลูกหลานให้ความสุขกับพี่น้องจึงถูกตีค่าต่ำกว่าชีวิตลูกสาวเศรษฐี…” ส่วนหนึ่งในจดหมายระบายความคับแค้นใจของนักกิจกรรมหญิงที่จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ทวงสิทธิ กรณีโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ที่มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นแรงงานชาย 14 ราย แรงงานหญิง 174 ราย และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน จนเกิดการตั้งคณะกรรมการรณรงค์สุขภาพความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนผลักดันให้รัฐบาลแต่งตั้งตัวแทนจากแรงงานและนักวิชาการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบภัยที่เสียชีวิตและทุพพลภาพ การต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่มากพอดั่งหวังเท่าใดนัก อาทิ เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านเงินช่วยเหลือแรงงานผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 1 แสนบาท และให้รัฐบาลประกาศว่าวันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี ให้เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ท้ายที่สุด รัฐบาลลงมติเห็นชอบ และอนุมัติในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ซึ่งใช้เวลานานกว่าหลายปี แม้ปัจจุบันจะผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว แต่ปัญหาด้านความปลอดภัยในที่ทำงานยังคงไม่ครอบคลุม เช่น การได้รับสารเคมีจากการทำงาน สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย การทดแทนเยีวยาล่าช้าและมีเงื่อนไขมากมาย ฯลฯ ซ้ำร้ายยังขยายไปยังแรงงานภาคส่วนอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชนโดยรอบ อ้างอิง… Continue reading ผ้าโผกหัวรณรงค์ทวงสิทธิกรณีเคเดอร์
เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้
โรงงานตุ๊กตาเกิดเพลิงไหม้ นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของคนงานเคเดอร์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน พิสูจน์ตัวตนจากซากศพไม่ได้จำนวน 10 คน ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน และจากการสำรวจพบว่ามีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวที่โรงงาน เสียชีวิตจำนวน 5 คน อยู่ชั้น ม.2 จำนวน 1 คน ชั้น ม.3 จำนวน 2 คน ชั้น ม.4 จำนวน 1 คน และชั้น ม.6 จำนวน 1 คน แรงงานที่เสียชีวิตเหล่านั้น มีบุตรกำลังศึกษาเล่าเรียน จำนวน 64 ราย และยังเป็นทารก จำนวน 19 ราย ปัญหาการเอาเปรียบคนงานของผู้ลงทุน โดนไม่สนใจความปลอดภัยในการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงปัญหาการดำเนินการสอบสวนปัญหาและช่วยเหลือคนงานผู้ประสบภัยของรัฐบาล ทำให้กลุ่มแรงงานต่าง ๆ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการแรงงาน… Continue reading เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้
ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้
ตุ๊กตาเหล่านี้ถูกเก็บมาจากซากโรงงานผลิตตุ๊กตาและของเล่นเด็ก บริษัท เคเดอร์อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไทยจิว ฟู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายการผลิตทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอีกหลายแห่งทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่จนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ ส่งผลให้คนงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นคนงานชาย 14 ราย ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง 174 ราย ไม่สามารถพิสูจน์ซากศพเพื่อระบุตัวตนได้ จำนวน 10 คน รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน โดยมีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวในโรงงานอีกด้วย นับว่าเป็นอุบัติภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในภาคอุตสาหกรรมไทย สาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียจำนวนมาก เนื่องจากโรงงานดังกล่าวขาดมาตรฐานหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อให้มีวัสดุหุ้มป้องกันไฟ ทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้โครงสร้างจึงพังทลายลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีระบบเตือนภัย ประกอบกับเสียงเย็บจักรทำให้คนงานไม่ทราบเหตุการณ์ รวมถึงบันไดขนาดกว้าง 1.60 เมตร จำนวน 2… Continue reading ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้
แผ่นพับรณรงค์ลาคลอด 90 วัน
ภายหลังจากองค์กรแรงงาน และกลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และจัดตั้ง “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอด” ขึ้น โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอดได้มีการทำแผ่นพับรณรงค์แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ให้ได้สิทธิลาคลอด 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนจากนายจ้าง เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียกร้องจัดเวทีอภิปราย และผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดันรัฐบาล ในท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 13) วันที่ 28 เมษายน 2536 และได้มีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2536 โดยมีเนื้อหาให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 90 วัน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน ส่วนค่าจ้างอีก 45 วัน ไปรับจากกองทุนประกันสังคม ด้วยเหตุผลจากกองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยออกแถลงการณ์ว่า “สิทธิประโยชน์ควรได้รับจากระบบประกันสังคม ไม่ใช่จากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว” โดยจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมต่อไป ซึ่งพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ได้ผ่านรัฐสภา และมีผลบังคับใช้ในปี 2538 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันนานถึง 2 ปี
ประท้วงลาคลอด 3 เดือน บนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
“ฉันต้องการที่จะอยู่กับลูกที่เพิ่งคลอดของฉันเพื่อที่จะให้นมลูก เพื่อที่จะให้ลูกของฉันมีสุขภาพที่ดีมันมากไปหรอสำหรับคำขอของคนเป็นแม่” การตั้งคำถามของคุณแม่คนหนึ่งที่ทำงานในโรงงานทอผ้า ละออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นแม่ การเรียกร้องของคุณแม่และหญิงสาวทั้งหลาย เสมือนเป็นตัวแทนของความโกรธของแรงงานหญิงครึ่งหนึ่งของประเทศที่มีความต้องการเหมือนกัน นั่นคือ สิทธิการลาคลอด 3 เดือน โดยยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ พวกเขาต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนและร่างกฎหมายนี้แต่กลับกลายเป็นถูกยื้อเวลาเนื่องจากไม่มีใครต้องการจ่ายเงินส่วนนี้ และหากกฏหมายนี้ผ่าน ทางรัฐบาลเกรงว่านักลงทุนต่างประเทศจะหนีไปหาที่ลงทุนอื่นในต่างประเทศไทย กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเฟมินิสต์ต่าง ๆ จึงร่วมกันออกมาสนับสนุน และเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของคุณแม่ทั่วโลกในวันสิทธิสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม ทั้งที่ในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจของไทยเติบโตพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งมีอัตราการเกิดของเด็กที่มากขึ้นเช่นกัน แต่ประสิทธิภาพของกฎหมายลาคลอดให้แก่คุณแม่กลับไม่ยุติธรรม และมีการเลือกปฏิบัติระหว่างคุณแม่ที่ทำงานในภาครัฐกับคุณแม่ที่ทำงานในภาคเอกชนอย่างชัดเจน โดยแรงงานหญิงภาคเอกชนลาคลอดได้ 1 เดือน และลาคลอดได้ 2 เดือนในระบบราชการ แต่สามารถขอขยายเพิ่มได้ถึง 3 เดือน ซึ่งเป็นการนับรวมกับสิทธิลาป่วยและสิทธิในการลาทำธุระ หากย้อนศึกษาการให้เงินสนับสนุนการลาคลอดของต่างประเทศในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่า ลูกจ้างสตรีในญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ได้สิทธิลาคลอด 105 วัน ส่วนในยุโรปนั้นได้ถึง 7 เดือน ในสวีเดนได้ถึง 1 ปี และประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่าง ประเทศลาว อินโดนีเซีย และพม่า รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนการลาคลอด 3 เดือนกับคุณแม่ทุกคน ดั่งเช่นกับข้อเรียกร้องของคุณแม่… Continue reading ประท้วงลาคลอด 3 เดือน บนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน
ธงกระดาษที่แรงงานหญิงใช้ในการรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องในปี พ.ศ.2536 แรงงานสตรีได้ทำการรณรงค์เรียกร้องให้แรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องมาจากปี 2534 ของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน กับสหพันธ์แรงงานและกลุ่มแรงงานสตรีจากย่านพระประแดง อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และรังสิต ต่อคณะรัฐมนตรียุคอานันท์ ปันยารชุน โดยต่อมา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2534 รัฐบาลลองเริ่มนำร้องโดยการประกาศระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2535 เรื่องการลาคลอด 90 วันกับข้าราชการก่อน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 เป็นต้นไป เดิมทีข้าราชการสามารถลาคลอดและได้รับเงินเดือน 60 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ไม่เสียสิทธิในพิจารณาขั้นเงินเดือน เพิ่มให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 90 วัน และหากต้องการลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อไปอีก ให้ลาได้ไม่เกิน 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน สำหรับแรงงานหญิงในภาคเอกชนกลับไม่มีมติ หรือนโยบายที่จะให้สิทธิเช่นเดียวกันกับข้าราชการหญิงทั่วไป และรัฐบาลยังได้ให้ความเห็นต่อสื่อว่า “ถ้าให้ลาได้ 90 วัน ต่อไปจะเกิดลูกหัวปีท้ายปีเพื่อให้ได้ลาคลอด” เพราะเดิมทีแรงงานสามารถลาคลอดได้เพียง 60 วัน… Continue reading ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน
อนุสัญญา ILO 87-98
ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน กฎหมายว่าด้วยการประกันสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพนี้ ล้วนผ่านการต่อสู้เรียกร้องของผู้ใช้แรงงานมาอย่างยาวนานตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังจากถูกคณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในปี 2499 ปัจจุบันกฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีส่วนช่วยยกระดับแรงงานไทยในหลายมิติเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการแบ่งแยกแรงงานข้ามชาติออกจากแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติเหล่านั้นจึงเสมือนปราศจากการคุ้มครองตามกฎหมาย ไร้สิทธิการต่อรองและตั้งสหภาพของตนเอง ทั้งนี้เพื่อลดทอนโอกาสการรวมตัว และเพื่อประโยชน์ในการกดค่าแรง วันแรงงานสากลในปี พ.ศ. 2535 ขบวนการแรงงานเริ่มยื่นข้อเรียกร้องการให้สัตยาบัน ILO 87 และ ILO 98 ต่อรัฐบาลเป็นครั้งแรก ILO (International Labour Organization) หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2462 จากการรวมตัวของประเทศสมาชิก 45 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 187 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานแรงงานให้เกิดขึ้นในทุกประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพของความคุ้มครองทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ใช้แรงงานบังคับ ห้ามมีการเลือกปฏิบัติในการทำงาน และอนุสัญญาฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิการรวมตัว และอนุสัญญาฉบับที่ 98… Continue reading อนุสัญญา ILO 87-98