“ถ้าพ่อหายไป 3 วันให้แจ้งความแสดงว่าถูกลักพาตัว และหากไม่ติดต่อมาใน 7 วัน ให้ทำใจพ่อเสียชีวิตแน่“ ทนงหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังทิ้งคำสั่งเสียสุดท้ายแก่ลูกเมีย ทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย องค์กรที่มีสมาชิกแรงงานมากที่สุด เขาได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและระดับสากล และยังมีบทบาทเป็นกรรมการสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (ICFTU) ที่สำคัญ ทนงเป็นผู้นำแรงงานที่มีบทบาทนำในการแข็งข้อกับเผด็จการ คณะ รสช. นำโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร เจ้าของประโยค “ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร” หลังทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เพียงสามวัน ได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบ รวมถึง ทนง โพธิ์อ่าน ต่อมาได้ประกาศใช้คำสั่งฉบับ 54 ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาของแรงงาน การรัฐประหารครั้งนี้ นับเป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกภายในขบวนการแรงงาน 2 กลุ่มหลักอย่างชัดเจน ระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา โดยการถือกระเช้าเข้าพบแสดงความยินดีหลังทำการรัฐประหาร และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย แกนนำหลักขณะนั้นคือ ทนง โพธิ์อ่าน ทนงได้ประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกและความต้องการสลายพลังขบวนการแรงงานภาคเอกชนกับแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากกัน โดยได้แสดงทัศนะที่ชัดเจนแข็งกร้าวและคัดค้านคำสั่งต่อคณะ รสช. การเคลื่อนไหวของทนงได้รับการตอบรับจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง และได้เป็นผู้แทนคนงานไทยไปประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ… Continue reading ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานถูกอุ้มหาย
Author: admin
แยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชน
“ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร” คำชี้แจงของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) หลังทำรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และเพียงสามวันให้หลังได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศให้เข้าพบ เพื่อชี้แจงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ พร้อมกล่าวคำชี้แจงในประโยคข้างต้น ก่อนภายหลังจะใช้อำนาจในการกำจัดสิทธิการเรียกร้องสิทธิแรงงาน และกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ รสช. ด้วยการประกาศคณะ รสช.ฉบับที่ 54 แก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เพื่อควบคุม จำกัดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงานในภาคเอกชน ห้ามให้คนนอกเป็นที่ปรึกษาสหภาพ และมีการผ่านร่างกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นเอง แยกพนักงานรัฐวิสาหกิจออกจากพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งส่งผลให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องถูกยกเลิกไป ต้องรวมตัวกันจดทะเบียนภายใต้รูปแบบสมาคมใหม่อีกครั้งภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 แทน ขบวนการแรงงานส่วนหนึ่งที่มุ่งสวามิภักดิ์เผด็จการ โดยการมอบช่อดอกไม้สนับสนุนคณะ รสช. พร้อมทั้งร่วมขับเคลื่อนงานไปกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 อย่างสงบภายใต้คำสั่งของคณะ รสช. การแสดงตนว่าเห็นด้วยกับการให้คนนอกเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางกระแสเรียกร้องของสังคมว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ 3 คนและผู้นำแรงงานภาคเอกชนอีกหนึ่งคนได้รับการแต่งตั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยทั้งสี่คนพยายามคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แยกพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผ่านการแปรญัตติและลงมติไม่เห็นชอบในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์นี้ในสภาฯ แต่ก็ไม่เป็นผล… Continue reading แยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชน
ประตูแดง กับ 2 พนักงานการไฟฟ้า
24 กันยายน 2519 พบศพพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 ราย ได้แก่ วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย หลังจากติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ขณะนั้นบวชเป็นสามเณรกลับเข้าประเทศไทย มีคนพบร่างของทั้งสองคนถูกแขวนคอ ที่ประตูเหล็กในสถานที่ส่วนบุคคลแห่งหนึ่ง บริเวณสามแยกกระบือเผือก ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในลักษณะประจานเพื่อให้ประชาชนคนอื่น ๆ ได้พบเห็นอย่างจงใจโดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มหนึ่ง แต่เรื่องกลับเงียบหาย ผู้กระทำไม่ถูกลงโทษทั้งทางกฎหมายหรือทางสังคมจนกระทั่งปัจจุบัน และเหตุการณ์นี้เป็นดั่งสารตั้งต้นในการแสดง “ละครแขวนคอ” โดยนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ชนวนหนึ่งในการเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่นักศึกษาจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองและถูกปราบปราม ทำร้าย ทารุณและบางรายถูกจับแขวนคอใต้ต้นไม้บริเวณท้องสนามหลวง ประตูเหล็กถูกกัดกร่อนตามกาลเวลา ทำให้ปัจจุบันประตูเหล็กบานดังกล่าวมีสีน้ำตาลแดงของสนิมจึงถูกเรียกขานว่า “ประตูแดง” ปัจจุบันมีการรื้อถอนและเก็บรักษาประตูแดงเอาไว้ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมรำลึก และจัดแสดงเพื่อให้เห็นถึงความรุนแรงโดยรัฐ
การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า
“โดนเข็มตำมือเขาบอกให้เอาน้ำมันหยดแล้วกัน” ชอเกียง แซ่ฉั่ว ผู้นำการต่อสู้ของแรงงานหญิงฮาร่า กางเกงยีนส์ฮาร่าเป็นกางเกงยีนส์ที่มีชื่อเสียงและขายดีมาก โดยมีเจ้าของเป็นนายทุนจีนเชื้อสายไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในซอยวัดไผ่เงิน ตรอกจันทร์ 3 โรง ต่อมากิจการได้กำไรดีจึงได้ขยายไปตั้งโรงงานที่อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐมอีก 1 โรง โรงงานที่ตรอกจันทร์ซึ่งเป็นโรงงานแรกเริ่ม คนงานเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นคนจีนเนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในย่านคนจีน ขณะที่เจ้าของโรงงานได้กำไรมหาศาล แต่กลับไม่ได้สนใจคนงานปล่อยให้โรงงานมีสภาพแวดล้อมย่ำแย่และสวัสดิการที่เลวร้าย การขยายโรงงานไปยังที่ใหม่ทำให้นายจ้างพยายามจะเอารัดเอาเปรียบคนงานโดยการลดค่าจ้างคนงานในโรงงานเก่า คนงานพยายามจะเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 คนงานโรงงาน 1 ที่ตรอกจันทร์และที่อ้อมใหญ่ภายใต้การนำของ ชอเกียง แซ่ฉั่ว ได้พร้อมใจกันนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสวัสดิการ แต่กลับได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรง หลังจากที่การนัดหยุดงานยืดเยื้อกว่า 3 เดือน คนงานได้ตัดสินใจยึดโรงงานที่วัดไผ่เงินมาทำการผลิตเอง โดยการขายหุ้น ระดมทุนจากประชาชนที่เห็นใจคนงานมาซื้อวัตถุดิบมาดำเนินการเอง โดยใช้ชื่อว่า “โรงงานสามัคคีกรรมกร” ทำการผลิตเสื้อและกางเกงยีนส์ออกจำหน่ายในราคาถูก ในที่สุดโรงงานสามัคคีกรรมกรของคนงานฮาร่าก็ถึงกาลอวสานเมื่อรัฐส่งเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามอย่างรุนแรง คนงานหลายคนถูกจับกุมดำเนินคดี ต่อมาได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาพิจารณากรณีพิพาทแรงงานโรงงานฮาร่าประกอบด้วยดร.เขียน ธีระวิทย์ อารมณ์ พงศ์พงัน และดนัย บุญนาค คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งชี้ขาด ให้นายจ้างรับคนงานที่หยุดงานกลับเข้าทำงาน ตามปกติ แต่นายจ้างไม่ยอมรับ… Continue reading การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า
เหรียญวีรชน 14 ตุลา
เหรียญวีรชน 14 ตุลาฯ เป็นเหรียญที่ระลึกในการต่อสู้ของเหล่าวีรชนโดยปราศจากอาวุธ จากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนนท) จัดทำขึ้นเพื่อแจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพวีรชนผู้เสียชีวิต กรณี 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ณ เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2517 วันที่ ๑๔ ตุลา น่าอนาถ เขาพิฆาต เข่นฆ่า จนอาสัญ คือลูกแม่ อรรณพ ดิษฐสุวรรณ สู่สวรรค์ ชั้นวิมาน สะท้านใจ แต่นี้ไป ใครเล่า จะเรียกแม่ สุดทางแก้ เหลียวแล ชะแง้หา เจ้าไปแล้ว ไปลับ ไม่กลับมา แม่มีแต่ โศกา และอาดูร ขอฟ้าดิน จงเป็น พยานเถิด ให้ลูกข้า บังเกิด ในภพหน้า อย่ามีมาร ตามราญ ผลาญชีวา เป็นสุข… Continue reading เหรียญวีรชน 14 ตุลา
หนังสือพิมพ์ ฉบับสดุดีวีรชน
ภาพของ นาย ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว (ไอ้ก้านยาว) นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะกำลังถือไม้ขึ้นต่อสู้กับทหารที่มีอาวุธครบมือในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นช่างภาพที่เก็บภาพถ่ายนี้ คือ นายแปลก เข็มพิลา และได้รับการตีพิมพ์อยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ “ฉบับสดุดีวีรชน” ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2516
โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
วัตถุจัดแสดงกลุ่มนี้เป็นการรวบรวม สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ หนังสือ เกี่ยวกับการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค (วันที่ 14 ตุลาคม 2516) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเป็นอย่างมากในหลายมิติ และยังก่อให้เกิดการฟื้นฟูขบวนการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่ถูกปราบปรามในช่วงยุครัฐบาลเผด็จการอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคถนอม ประภาส ณรงค์ ในปี 2516 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวขบวนการแรงงานของสหภาพแรงงาน ที่กลับมามีบทบาทสำคัญทั้งบทบาทการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ให้เพื่อนคนงานด้วยกันเองผ่านการนัดหยุดงาน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก่อให้เกิดกระแสการนัดหยุดงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเป็นประวัติกาล ในปี พ.ศ. 2517 มีจำนวน 357 ครั้ง และในอีกสองปีถัดไปรวมกันจำนวนกว่า 374 ครั้ง ตลอดจนบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องปัญหาทางสังคมในประเทศขณะนั้น และมีการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดร่วมกับกลุ่มพลังสำคัญของสังคม นั่นคือ ขบวนการนักศึกษา และขบวนการชาวนา อาจนับได้ว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการกรรมกรในยุค 14 ตุลาคม 2516 จนกระทั่งถึงยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีส่วนร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่น… Continue reading โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
โปสเตอร์คอมมิวนิสต์หรือเสรีภาพ
ในยุคสงครามเย็น หลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นมามีบทบาทในฐานะผู้นำโลก ขณะที่รัฐไทยยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกา มีการออกโปสเตอร์เพื่อใช้ในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ไทย ผ่านการนำเสนอภาพคอมมิวนิสต์ในฐานะอุดมการณ์ที่เลวร้าย นำมาซึ่งความหายนะ ทุกข์ยากแก่คนในประเทศชาติ โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้คนในสังคมเกิดความหวาดกลัว และต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ โปสเตอร์ชุด “คอมมิวนิสต์ หรือ เสรีภาพ” ถูกผลิตมาเพื่อแสดงการเปรียบเทียบสังคมไทยที่มีเสรีภาพและสังคมไทยที่เป็นคอมมิวนิสต์ผ่านมุมมองต่าง ๆ ในสังคม อาทิ วิถีชีวิตทั่วไป ความสุขความบันเทิงของประชาชน สภาพเศรษฐกิจฐานรากภายใต้รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชีวิตเกษตรกรไทย การสร้างฐานมวลชน จัดตั้งแบบบังคับขู่เข็ญให้หวาดกลัวและเชื่อฟัง การพิจารณาคดีชำระความผ่านศาลเตี้ย การแสดงความเคารพผู้อาวุโสและครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนวิชาความรู้ และระบบการศึกษาในประเทศคอมมิวนิสต์ที่สั่งสอนให้เกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น ภาพโปสเตอร์ชิ้นที่ทุกท่านเห็นอยู่นี้ เป็นภาพโปสเตอร์ในชุดคอมมิวนิสต์หรือเสรีภาพ ในมิติชีวิตเกษตรกรไทย กล่าวคือ หากอยู่ในประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ชีวิตเกษตรกรหรือราษฏรจะไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน และทุกคนจะถูกบังคับให้ทำงานหนักเยี่ยงวัวควาย หากแต่ประเทศไทยไม่หลงเชื่อและรับเอาคอมมิวนิสต์ จะมีเสรีภาพ ชาวนาไทยจะมีกรรมสิทธิในที่นาทำกินของตน
จะเข้ของจิตร ภูมิศักดิ์
จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชน นักคิด นักปฏิวัติคนสำคัญของประเทศ เป็นศิลปินที่แต่งเพลงสะท้อนปัญหาของชนชั้นแรงงานหลายต่อหลายเพลงในระหว่างที่เขาถูกจับกุม ในวันที่ 21 ตุลาคม 2501 โดยเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกย้ายสถานที่คุมขังในช่วงต้นปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากนโยบายการไล่จับคอมมิสนิสต์ของคณะปฏิวัติ ทำให้คนล้นคุก และคุกไม่มีที่เพียงพอในการคุมขัง จิตร ภูมิศักดิ์ จึงถูกขังที่คุกลาดยาว โดยมีกิจกรรมอ่านหนังสือ เขียนกวีการเมือง และแต่งเพลง จำนวนหลายชิ้น จิตรมีเครื่องดนตรี “จะเข้” ชิ้นนี้ ใช้ในการประพันธ์เพลงสำคัญ ๆ หลายบทเพลงที่คุกลาดยาวในช่วงเวลานั้น
เนื้อและโน๊ตเพลงศักดิ์ศรีของแรงงาน
แม้ประเทศชาติจะถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดของอำนาจเผด็จการ แต่จิตใจที่ยังมั่นคง ยืนหยัดในอุดมการณ์แห่งชนชั้นกรรมชีพของแรงงานไทยไม่เคยเจือจางลง สิ่งเหล่านั้นถูกถ่ายทอดผ่านเนื้อเพลงและโน้ตดนตรีที่ จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนขึ้นระหว่างถูกคุมขังในคุกลาดยาว คุกลาดยาวในช่วงเวลานั้นมีทั้งผู้นำแรงงานและนักต่อสู้เพื่อสังคมหลายคนถูกคุมขังอยู่ บทเพลงศักดิ์ศรีของแรงงาน เป็นเพียงหนึ่งในหลายบทเพลงของจิตรที่เขียนขึ้นภายในคุกลาดยาว เพลงรำวงวันเมย์เดย์ ที่ร้องกันในขบวนแถวของผู้ใช้แรงงานในทุกวันนี้ก็ถูกประพันธ์ขึ้นโดย จิตร ภูมิศักดิ์ ที่เขียนขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลขณะที่ถูกจองจำ นับได้ว่าเพลงปฏิวัติต่าง ๆ ของจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นมรดกทางปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อปลุกใจไม่ให้ท้อแท้แด่ชนชั้นปฏิวัติทั้งหลาย