สังคมไทยแต่เดิมเป็นสังคมศักดินา คนส่วนใหญ่ในสังคมเป็นแรงงานบังคับที่เรียกกันว่าไพร่ และร้อยละ 80-90 จะเป็นไพร่ เมื่อเป็นเช่นนั้นชนชั้นไพร่จึงนับเป็นพื้นฐานของสังคม ไพร่ คือ ราษฎรสามัญทั่วไป ทั้งชายและหญิงที่มิได้เป็นมูลนายและมิได้เป็นทาส มีศักดินา 10-25 (ไร่) ไพร่ทุกคนจะต้องลงทะเบียนขึ้นสังกัดกับมูลนาย อย่างไรก็ตาม ไพร่ชายและหญิงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ไพร่ชายจะถูกเกณฑ์มาทำราชการโยธาตามกำหนดเวลาเป็นประจำ สำหรับไพร่หญิงส่วนใหญ่จะเพียงแต่นำมาขึ้นทะเบียนเป็นไพร่ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ถูกเกณฑ์แรงงาน และงานที่ถูกเกณฑ์มาทำมักเป็นงานเบากว่างานของไพร่ชาย โดยปกติแล้วเมื่อเอ่ยคำว่า “ไพร่” มักหมายถึง “ไพร่ชาย” คนไทยและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เช่น มอญ ลาว พม่า ต้องถูกสักข้อมือ (สักหมายหมู่) เป็นไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานโดยมูลนาย การสักสักหมายหมู่จึงเป็นมาตรการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาไพร่หนี มาตรการนี้ได้เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2316 ในสมัยธนบุรี และในปีต่อมา (พ.ศ. 2317) ได้มีการออกกฎหมายที่ระบุให้ไพร่ทุกคนต้องสักชื่อเมืองและชื่อมูลนายไว้ที่ข้อมือ เดิมหลักฐานที่บ่งชี้บอกว่าผู้ใดเป็นไพร่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บัญชีหางว่าว การสักสักหมายหมู่เป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะความเป็นไพร่ที่จะติดตามตัวไพร่ไปทุกหนทุกแห่ง ด้วยมาตรการนี้ทำให้ไพร่หลบหนีจากเมืองหนึ่งไปอยู่อีกเมืองหนึ่งได้ลำบากขึ้น ส่วนทางการก็สามารถติดตามไพร่ที่หนีสังกัดได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นกฎหมาย พ.ศ. 2317 มีการกำหนดโทษผู้ปลอมแปลงเหล็กสักหรือขโมยเหล็กสักของหลวงไปใช้ โดยกำหนดให้มีโทษประหารชีวิต (ทั้งโคตร) ในสมัยต่อมา สมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการรับเอามาตรการในเรื่องของการสักสักหมายหมู่เป็นแนวปฏิบัติสืบมา… Continue reading เอกสารเกณฑ์ไพร่พล ไทย-มอญ
Author: admin
เอกสารค้าทาส
ในสังคมสยาม (ไทยโบราณ) ผู้เป็นฐานกำลังสำคัญในกระบวนการผลิตและการพัฒนาประเทศก็คือ แรงงานบังคับที่เรียกกันว่า “ไพร่” และ “ทาส” มาถึงวันนี้วันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้แรงงานหรือคนทำงานที่ยังคงเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็ยังคงเป็นฟันเฟืองสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประเทศ แม้ว่าแรงงานจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศนี้ แต่เรื่องราวของพวกเขากลับกลายเป็นสิ่งลึกลับ และหายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ของรัฐเอาแต่ยกย่องเชิดชูชนชั้นสูงเพียงหยืบมือเดียวในสังคม แต่กลับละเลยและมองไม่เห็นความสำคัญของแรงงาน ที่มีเรื่องราว บทบาท คุณค่าและคุณูประการของผู้คนที่ได้อุทิศตนทำงานให้กับประเทศมาอยากยาวนาน แรงงานในประเทศนี้ ยังคงเป็นกลุ่มคนผู้อาภัพที่ทุ่มเททำงานให้กับสังคมอย่างเหน็ดเหนื่อย แต่ถูกมองว่าต่ำต้อยด้อยค่าในสังคมเสมอมา พวกเขาเคยมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากแค้นลำเค็ญอย่างไรในครั้งอดีต ในปัจจุบันก็พวกเขาก็ยังคงมีสถานะทางสังคมที่ไม่ได้แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา แรงงานยังคงได้รับส่วนแบ่งจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตเป็นค่าจ้างเพียงน้อยนิด ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน ขาดสวัสดิการพื้นฐานที่ดีและเพียงพอ งานหลายประเภทยังอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ในแต่ละปีจะมีผู้ใช้แรงงานต้องเสียชีวิต เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บและเผชิญปัญหานานาประการที่เกิดจากการทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก
เครือข่ายสลัม ๔ ภาค
Facebook: https://www.facebook.com/thaifrsn/ Website: http://www.frsnthai.org/
Friedrich Ebert Stiftung (FES) มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ก ประเทศไทย
อีเมล์: info@fes-thailand.org Facebook: https://www.facebook.com/festhailand/ Website: https://thailand.fes.de/th/
ศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการ
อีเมล์: welfarestateandjustice@gmail.com Facebook: https://www.facebook.com/welfarewillwin Website: https://welfarewillwin.com/
We Fair
อีเมล์: wefairnetwork@gmail.com Facebook: https://www.facebook.com/wefairwelfare Website: http://www.wefair.org/
Migrant Working Group (MWG) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
อีเมล์: migrantworkinggroup@gmail.com Facebook: https://www.facebook.com/mwgthailand Website: http://www.mwgthailand.org/