“ถ้าคุณเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางระดับบน หรือชนชั้นสูง ก็สามารถตามหาความหมายของจักรวาลได้ หากเกิดมายากจน รักดีแค่ไหนก็ได้แต่ทำงานร้านสะดวกซื้อ คนเราจึงถูกขังด้วยชาติกำเนิด สิ่งเดียวที่แก้ไขได้คือ รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า ครบวงจร ข้อเสนอนี้ไม่ใช่ข้อเสนอใหม่ แต่ปรีดี พนมยงค์ เคยเสนอเมื่อปี 2475 แล้ว คือ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนให้ทุกคนปลอดภัย ตอนนั้นเสนอให้คนมีเงินเดือนเดือนละ 20 บาท เทียบปัจจุบันคือ 4000 บาท ในทางสากล เรียกว่าเงินเดือนพื้นฐานถ้วนหน้า เป็นข้อเสนอที่ก้าวหน้าที่สุด ในปัจจุบันที่รัฐบาลฟินแลนด์กำลังทดลองอยู่ แต่ไทยเสนอเมื่อ 80 ปีก่อน แต่ชนชั้นนำไทยไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องการคือ เงินจากบาทแรกถึงบาทสุดท้าย ต้องบรรจุพยาบาล ไม่ใช่นายพลต้องเลี้ยงดูคน 20 ล้านครอบครัว ต้องการรถเมล์ ไม่ใช่เรือดำน้ำ เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องการประชาธิปไตย หาใช่เผด็จการ!” การประชุมใหญ่บริเวณหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ในวันที่ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ของกลุ่มราษฎร กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีแกนนำหลักคือเหล่านักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การขึ้นปราศัยบนเวทีล้วนมีทั้งนักศึกษา บางกลุ่มแรงงาน… Continue reading รัฐสวัสดิการในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยุคโควิด
Category: คอลเลคชั่นและไทม์ไลน์
แรงงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19
การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปลายปี 2562 นำมาสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจากการปิดกิจการและลดระดับการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ นับว่าเป็นการเปิดแผลความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมและความเปราะบางของชีวิตของคนไทยจากการขาดสวัสดิการรองรับ ที่ผ่านมาในสังคมไทยจะมีภาพการขายวัว ขายควาย จำนำครกสาก และเครื่องมือทำมาหากินเพื่อส่งลูกเรียน การที่เยาวชนต้องออกจากระบบการศึกษากระทันหันเพราะไม่มีเงินใช้จ่าย และการนำที่นาไร่สวนไปจำนองเพราะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือการที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบจนต้องไปกู้นอกระบบดอกเบี้ย 10-30% ต่อเดือน เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นเรื่องทั่วไปที่พบเห็นโดยทั่ว ทว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยขาดความมั่นคงในชีวิต จากค่าแรงรายวันคนไทยอยู่ที่ 300-500 บาท เงินเดือนระดับปริญญาตรีเริ่มที่ 15,000-20,000 บาท คนไทยมีเงินในกระเป๋าน้อยมากเมื่อเทียบทุกระเบียดนิ้วของชีวิตคนไทยที่ถูกทำให้เป็นสินค้าที่ต้องซื้อหาในราคาที่แพงลิ่วตั้งแต่การศึกษา การรักษาพยาบาล และการเดินทาง เราจึงเห็นว่าที่ผ่านมาหนี้ครัวเรือนไทยเพื่อการบริโภคพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับอัตราหนี้เสียในระบบ การที่กำลังซื้อคนไทยหดหาย ศักยภาพในการใช้คืนหนี้ตกต่ำ ล้วนมาจากรายได้ที่ลดลงของคนไทย ที่สอดคล้องกับจำนวนผู้ตกงานและการปิดกิจการที่สูงขึ้น ผลจากมาตรการสั่งปิดสถานประกอบการโดยไม่มีเงื่อนไขหรือมาตรการรองรับ ส่งผลให้นายจ้างหลายราย ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก ต่างปลดกำลังคนออกเป็นจำนวนมาก กลุ่มแรงงานในระบบที่มักถูกเลิกจ้างเป็นกลุ่มแรกนั่นคือ กลุ่มแรงงานซับคอนแทรค(sub-contract) และแรงงานกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบอย่างสาหัส จากงานที่ไม่มั่นคงและไม่มีสวัสดิการรองรับ คือ แรงงานนอกระบบ ที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ต่อมารัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาแจกเงิน “เราไม่ทิ้งกัน” ช่วงกลางปี 2563 ด้วยวงเงินเยียวยารวมกว่า 15,000… Continue reading แรงงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19
กระแสการเมืองและการถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
เนื่องด้วยในปัจจุบันได้มีปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน ในกระบวนการต่าง ๆ ประกอบด้วย กระบวนการรับสมัคร การเลื่อนขั้นเงินเดือน การจัดวางตำแหน่ง ตลอดจนการสิ้นสุดการจ้าง ยังคงมีเงื่อนไขของการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง ในช่วงยุคสมัยปัจจุบันที่ทุกคนตื่นตัวมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างชัดเจน หากพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับปัจจุบัน จะพบว่ากฎหมายครอบคลุมเพียงการเลือกปฏิบัติในมิติความเท่าเทียมทางเพศเท่านั้น ในขณะที่ประเด็นอื่น ๆ อย่างการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านทัศนคติทางการเมือง ความเชื่อ ศาสนา ค่านิยม การศึกษา และอื่น ๆ กลับไม่ได้ถูกรับรองเอาไว้ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ฝ่าย HR ของบริษัทต่าง ๆ เริ่มไปสอดส่องตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ของผู้สมัครงานหรือพนักงานบางรายหากหาไม่ได้ก็จะพยายามสืบผ่าน Digital Footprint เพื่อดูพื้นหลังทางความคิดของบุคคลคนนั้นว่าตรงใจกับตนเองหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมการแสดงออกทางการเมืองผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การบังคับใส่เสื้อสี การสั่งให้เข้าร่วมหรือไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง หากมีพนักงานขัดขืนก็อาจถูกประณามได้ นอกจากนี้กฎหมายในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ได้ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติเช่นนี้ทั้งในระดับกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ ถึงจะเป็นความจริงที่ว่าในรัฐธรรมนูญไทยฉบับปี 2560 จะให้สิทธิแก่บุคคลในการแสดงออกและความคิดเห็นทางการเมือง และการไม่ถูกเลือกปฏิบัติในมิติความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ… Continue reading กระแสการเมืองและการถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง
การฝึกงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนอาชีวะ หรือนักศึกษาฝึกงานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กลับไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายที่มีการตั้งข้อกำหนดของการฝึกงานที่แน่ชัด จนไปถึงการนิยามคำว่า “ผู้ฝึกงาน” ที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างที่นายจ้างใช้ประโยชน์จากผู้ฝึกงานเป็นแรงงานราคาถูกนอกกฎหมาย โดยที่กฎหมายแรงงานไม่สามารถคุ้มครอง และเกิดปัญหาการฝึกงานที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้แรงงานขาดทักษะที่ควรได้รับจากการฝึกงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในกลุ่มแรงงานจบใหม่เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ปัญหานี้ก่อตัวเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษของโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงาน ประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการฝึกงาน เพื่อคุ้มครองผู้ฝึกงาน พัฒนาทักษะแรงงานจบใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำของผู้ฝึกงาน และลดอัตราการว่างงานของแรงงานจบใหม่ภายในประเทศ จึงมีการศึกษานโยบายตัวอย่างของต่างประเทศ และรวบรวมข้อเสนอเพื่อนำมาผลักดันในสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกัน ผ่าน 6 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จัดทำพระราชบัญญัติการฝึกงานให้ครอบคลุม 12 ประการ 2) นายจ้างจะต้องทำประกันคุ้มครองให้แก่ผู้ฝึกงาน 3) ผู้ฝึกงานสามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานได้ 4) จัดให้มีการลงทะเบียนสถานประกอบการที่สามารถเปิดรับผู้ฝึกงาน เพื่อให้มีคุณภาพและตรวจสอบการฝึกงานให้เป็นไปตามมาตรฐานตลอดกระบวนการฝึกงานได้ 5) จัดให้มีการจัดสอบวัดผลหลังจบการฝึกงาน เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของผู้ฝึกงานและสถานประกอบการ 6) รัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโครงการค่าจ้างผู้ฝึกงานคนละครึ่งกับสถานประกอบการ ในอัตราส่วนละ 50% ทั้งนี้หน่วยงานของภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ข้อเสนอการยกระดับการฝึกงานในประเทศไทยชุดนี้ ได้ถูกเสนอผ่านคณะอนุกรรมาธิการด้านการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรัฐสภา เมื่อเดือนมีนาคม 2564… Continue reading นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ถูกพูดถึงในสังคมวงกว้างเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการระบาดทั่วของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 การระบาดใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้ประชาชนทุกคนเดือดร้อนและลำบากโดยทั่วกัน เนื่องด้วยมาตรการการรองรับต่าง ๆ รวมถึงการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึง ตกหล่น และคัดกรองหลายขั้นตอนจนทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนเข้าไม่ถึงสวัสดิการต่าง ๆ สถานการณ์ระบาดครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการรื้อปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถูกกลบอยู่ใต้พรมโผล่ออกมาให้ทุกคนได้เห็นอย่างถ้วนหน้า เกิดการวิพากษ์ระบบสวัสดิการในประเทศ ตลอดจนมีการนำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นในสังคมทั้งเวทีเสวนาทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่แท้จริงแล้ว ในประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องนี้มาอย่างช้านาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนที่มีเงื่อนไขสวัสดิการและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรก อันเป็นภาพสะท้อนจากการต่อสู้ทางชนชั้น ในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า ที่มีการรวมกลุ่มของสหภาพแรงงาน มีลักษณะสำคัญคือระบบอัตราภาษีก้าวหน้า โดยเน้นสวัสดิการในฐานะสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งแตกต่างจากระบบสวัสดิการแบบกลไกตลาดที่ปัจเจกรับผิดชอบสวัสดิการของตัวเองหรือการลงทุนผ่านประกันเอกชน และรูปแบบประกันสังคมที่เน้นไปที่ผู้ทำงานผ่านระบบการจ้าง รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า นับว่าเป็นข้อเสนอหลักของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดย ปรีดี พนมยงค์ รวมถึงขบวนการแรงงานหลังจากนั้นทุกยุคสมัย แม้แต่ช่วงการแตกแยกทางอุดมการณ์สองสีเสื้อ รัฐสวัสดิการก็ยังเป็นคำที่ถูกใช้และช่วงชิงอยู่เสมอระหว่างขบวนการแรงงานด้วยกัน หรือแม้แต่ฝั่งทุนก็ตาม แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่การรวมตัวของประชาชน นักศึกษา และแรงงาน สามารถสร้างแรงกดดันขับไล่ให้ 3 ทรราชย์ ถนอม ประพาส ณรงค์ ต้องหมดอำนาจและออกไปจากประเทศได้… Continue reading รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
ค่าแรงขั้นต่ำในไทย
การนัดหยุดงานของกรรมกรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เพื่อเรียกร้องเรื่องค่าแรงและสวัสดิการอย่างเป็นธรรม เริ่มมีการยกระดับและเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลถูกกดดันจนตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าแรงขั้นต่ำขึ้น และสุดท้ายก็มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำครั้งแรกเกิดขึ้น ในวันที่ 17 เมษายน 2516 ในราคาที่ 12 บาท ถือได้ว่าเป็นอัตราที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในขณะนั้น เฉกเช่นเดียวกันกับปัจจุบันที่ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ในราคาเพียง 313-336 บาท จะพบได้ว่าจากระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งสิ้น 48 ปี มีการปรับค่าแรงทั้งสิ้น 49 ครั้ง และช่วงที่การปรับค่าจ้างทิ้งช่วงนานที่สุดคือหลังรัฐประหารโดย คสช. โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำทิ้งช่วงนาน 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2560 ในขณะที่ช่วงหลังวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 มีการทิ้งช่วงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 1 ปี 3 เดือนเท่านั้น (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2539 ถึง 1 มกราคม… Continue reading ค่าแรงขั้นต่ำในไทย
แรงงานแพลตฟอร์มในไทย
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้ก่อให้เกิดสภาวะหยุดชะงัก (disruption) ทั้งในทางเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ตลาดแรงงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก นี่ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นบนโลกใบนี้ ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น บทบาทของการจับคู่ตลาดแรงงานดิจิทัลจึงเพิ่มสูงขึ้น หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม แรงงานกำลังหางานและทำงานผ่านทางแพลตฟอร์มและแอ๊ปเอาท์ซอร์สออนไลน์ซึ่งเรียกว่าเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม(platform economy) จริง ๆ แล้วการจ้างงานแบบที่เรียกว่า Gig work หรือการจ้างงานแบบชั่วคราวไม่ผูกพันนั้นได้เกิดขึ้นและถูกพูดถึงมาหลายปีพอสมควรแล้ว แต่สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มนั้นยังถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ การเติบโตของระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มนั้นแม้จะเป็นช่องทางและเปิดโอกาสใหม่ให้กับการจ้างงาน ที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งงาน มีช่องทางทำมาหากิน หารายได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเดียวกันก็ได้ สร้างปัญหาใหม่ ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานและความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แรงงานจำนวนมากที่ทำงานผ่านแพลตฟอร์มประเภทต่าง ๆ ที่มีมากมายหลายรูปแบบกำลังเผชิญกับปัญหาและถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนักหน่วงอันเป็นผลมาจากการเข้าทำงานบนแพลตฟอร์ม อีกทั้งปรากฏการณ์การระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2563 และดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการทั่วทุกหนแห่ง การผลิตแบบ supply chain ซึ่งเป็นการผลิตแบบพึ่งพิงการทำงานที่เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายการผลิตที่มีขอบเขตที่กว้างขวางข้ามพรมแดนซึ่งเติบโตขึ้นและแพร่ระบาดไปทุกภูมิภาคของโลกก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบและความเสียหายอย่างไม่เคยมีการคาดคิดมาก่อน อุตสาหกรรม ธุรกิจ การค้าและการบริการจำนวนมากมายต้องหยุดชะงัก หลายกิจการต้องปิดตัวลง ผู้คนมากมายต้องตกงานและจำนวนมากได้ถูกผนวกเข้าสู่การจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มอย่างไม่มีทางเลือก ปรากฏการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้การจ้างงานบนแพลตฟอร์มเติบโตและขยายตัวอย่างไร้ขอบเขตและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้ประเด็นการจ้างงานบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจึงเป็นประเด็นใหญ่และมีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก แม้การจ้างงานชนิดนี้จะเกิดและพัฒนามาระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่ทั่วทุกหนแห่งบนโลก การศึกษาวิจัยค้นคว้าในหัวข้อดังกล่าวจึงหัวเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน
แรงงานเสี่ยง
แรงงานเสี่ยง (Precariat, Precarious Prolettariat) กลุ่มชนชั้นใหม่ซึ่งนิยามโดย Guy Standing (2011) ซึ่งชี้ให้เห็นพลังการผลิตแบบใหม่ในสังคมเสรีนิยมใหม่ซึ่งทำงานในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ชั่วคราว อันเป็นผลจากการปรับตัวของความสัมพันธ์การผลิตแบบทุนนิยมใต้กระแสเสรีนิยมใหม่ เพื่อลดอำนาจการต่อรองของชนชั้นกรรมาชีพที่มีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้นจากการสะสมความขัดแย้งในวิถีการผลิตทุนนิยม แรงงานเสี่ยงนอกจากต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองแล้วยังต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในระบบทุนนิยมอื่น ๆ ที่ถ่ายโอนมาจากชนชั้นนายทุน เช่น แรงงานเหมาค่าแรง ทำงานรายชิ้น คนงานรับงานกลับมาทำที่บ้าน แรงงานตามฤดูกาล หรือแรงงานข้ามชาติ กลุ่มแรงงานเสี่ยงขยายตัวโดยมิได้รู้สึกผูกพันหรือมีส่วนร่วมในองค์กรวิชาชีพใด ทำให้ชีวิตของพวกเขาผ่านกระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่เข้มข้นส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาความทรงจำร่วมในสังคมการผลิต ในบริบทไทยแล้วนับตั้งแต่ปี 2553 กลุ่มแรงงานเสี่ยงมีการขยายตัวอย่างมาก ในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานแพลตฟอร์ม ฟรีแลนซ์ พนักงานชั่วคราว ผู้ประกอบการเหนือแรงงานตัวเอง กลุ่มนี้มีลักษณะชั่วโมงทำงานสูง รายได้ต่ำ ไร้อำนาจการต่อรองและรวมตัวต่อรองได้ยาก ยิ่งสังคมมีความมั่นคั่งเท่าไหร่ พวกเขากลับมีความไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว กลุ่มแรงงานเสี่ยงจึงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเข้าแทนชนชั้นกรรมาชีพเดิม เพื่อรองรับการสะสมทุนที่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่เข้มข้นมากขึ้น การเกิดขึ้นและขยายตัวของแรงงานเสี่ยงในกระบวนการสะสมทุนแบบเสรีนิยมใหม่ ก่อให้เกิดวิกฤตความชอบธรรมของระบบทุนนิยมเช่นกัน โดยจะเห็นได้ว่าแม้การขยายตัวของแรงงานเสี่ยงจะเอื้อต่อการสะสมทุน แต่ในทางกลับกันก็ทำให้ระบบทุนนิยมเผชิญหน้ากับความเปราะบาง ซึ่งขบวนการแรงงานเองมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเพื่อให้การเรียกร้องสอดรับต่อวิถีการสะสมทุนที่เปลี่ยนแปลงไป และป้องกันการขยายตัวของแรงงานเสี่ยง เนื่องจากจะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานไม่มีอำนาจต่อรอง อ้างอิง ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี. “ชนชั้นแรงงานเสี่ยง กลุ่มคนชายขอบบนศูนย์กลางทุนนิยมเสรีนิยมใหม่.” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปีที่ 43,… Continue reading แรงงานเสี่ยง
การเมืองเหลือง-แดงในขบวนการแรงงาน
การเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องจากเรื่องกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ จากรัฐบาลชวน หลีกภัย จนกระทั่งรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ผู้นำแรงงานบางส่วน อาทิ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ประกาศเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) อย่างชัดเจน โดยมีแกนนำจากฝั่งแรงงาน สรส. ร่วมด้วย พร้อมเป้าหมายการเรียกร้องหลักคือต่อต้านนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การออกมาเคลื่อนไหวดังกล่าวของขบวนการแรงงานรัฐวิสาหกิจและภาคประชาสังคมนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล กลายเป็นเงื่อนไขของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในที่สุด ภายหลังการรัฐประหาร การเคลื่อนไหวทางการเมืองยังคงแตกแยกและขยายเป็นวงกว้างในสังคม ไม่เว้นแม้แต่ในขบวนการแรงงาน แรงงานอีกกลุ่มที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างกัน ได้สนับสนุนและเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหาร ในนามแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเคลื่อนไหวที่กำเนิดขึ้นและเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนหลังรัฐประหารครั้งนี้ โดยมีกลุ่มสหพันธ์แรงงานสิ่งทอฯ ประกาศตัวชัดเจนในการเข้าร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในงานวันสตรีสากลปี 2549 ก่อนการรัฐประหาร ในปี 2550-2551 ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แรงงานเริ่มมีการรวมกลุ่มขึ้นใหม่อีกหลายกลุ่ม เช่น สมัชชาแรงงาน และเริ่มมีการร่วมออกแถลงการณ์เรียกร้องเชิงนโยบายทางสังคมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมอื่น ๆ อาทิ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ (ปัจจุบันคือกลุ่ม Try… Continue reading การเมืองเหลือง-แดงในขบวนการแรงงาน
กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ
ทศวรรษที่ 1980 กระแสโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ได้แพร่กระจายไปในขอบเขตทั่วโลก ได้ทำให้เกิดนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกแห่งหนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แม้เดิมทีแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจะท้าทายต่อการดำรงอยู่ของกิจการรัฐวิสาหกิจไทยทุกยุคสมัยก็ตาม ภายหลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก ที่ตั้งเงื่อนไขให้ไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องถูกขายให้แก่เอกชนไป ทำให้มีการลุกขึ้นคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโดยพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง และประชาชนทั่วไป มีการใช้ผ้าแดงคาดศรีษะ หมวก รวมถึงผ้าแดงพันคอที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงคัดค้านการตรากฎหมาย 11 ฉบับ หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายขายชาติ การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกกฎหมายขายชาติ ที่มีกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และองค์กรประชาธิปไตยต่าง ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ตั้งแต่กฎหมายชุดเศรษฐกิจนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ ชวน หลีกภัย หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวหลายเครือข่าย โดยมีองค์กรแรงงานที่ประกาศตัวชัด คือ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นตัวแทนร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติปี พ.ศ. 2545 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการผลักกฎหมายพิจารณาผ่านรัฐสภาและประกาศบังคับใช้ แม้ช่วงหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้าจะประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านกับกฎหมายชุดนี้ จึงนำมาสู่การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี… Continue reading กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ