ผ้าโพกศีรษะสีแดง “หญิงไทยไม่ใช่ทาส” ชิ้นนี้ทำขึ้นโดยนักสหภาพแรงงานสตรีใช้คาดหัวในการรณรงค์เรียกร้องสิทธิของสตรีในวันสตรีสากล 8 มีนาคม ปี 2546 หลังจากนั้นไม่ปรากฎการใช้ผ้าโพกศรีษะผืนนี้ในขบวนรณรงค์เรียกร้องสิทธิในวันสตรีสากล โดยในช่วงหลังจะเป็นการใช้ผ้าสีม่วง และใช้เสื้อเป็นสัญลักษณ์แทนผ้าโพกศรีษะ การเดินขบวนรณรงค์เรียกร้องสิทธิในวันสตรีสากลวันนั้น นำโดยกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงจาก 37 องค์กร และมีผู้เข้าร่วมเดินขบวนจำนวนกว่า 200 คน จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสิทธิสตรีในที่ทำงาน 6 ข้อ แก่นายกรัฐมนตรี ดังนี้ ให้แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 15 เรื่องการเกษียณอายุการทำงานของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย ให้แก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 39 กรณีการจ่ายเงินสมทบของคนงานตกงาน ให้รัฐบาลเร่งจัดตั้งกองทุนสำหรับคนงานที่ถูกเลิกจ้าง เช่น กรณีนายจ้างย้ายฐานการผลิต เป็นต้น โดยให้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุน ให้จัดตั้งสถาบันคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ ขยายกฎหมายให้คุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น สร้างกลไกในการพัฒนาและส่งเสริมให้แรงงานหญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายทุกระดับ
Category: คอลเลคชั่นและไทม์ไลน์
รณรงค์ยกเลิกจ้างเหมาช่วง
หลังเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู ยิ่งก่อให้เกิดการเร่งการผลิตและการจ้างงานในปริมาณมากในระบบสายพาน แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่มากขึ้นแต่ต้นทุนยังคงต่ำ สภาพการจ้างงานรูปแบบจ้างเหมาค่าแรงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มทุน เพราะนอกจากต้นทุนค่าแรงถูกแล้ว ยังไม่มีต้นทุนทางสวัสดิการให้สถานประกอบกิจการต้องรับผิดชอบ และจ้างงานได้ง่าย เลิกจ้างได้เร็วโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ เมื่อต้องการปรับลดต้นทุนการบริหาร ระบบอุตสาหกรรมแต่ละแห่งจึงเน้นการจ้างแรงงานเหมาค่าแรงมากกว่า หรือใช้ทดแทนแรงงานประจำบางส่วน รวมถึงเป็นการลดทอนอำนาจการต่อรองในสหภาพแรงงานได้อีกทอด ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศไทยได้มีการผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายใต้นโยบายเปิดเสรีอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยให้สิทธิพิเศษแก่นายทุนที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามายังประเทศไทยเพื่อดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาค ยิ่งส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่องทั้งระบบและเกิดการขยายตัวการจ้างงานรูปแบบจ้างเหมาค่าแรงในปริมาณมากให้ตอบโจทย์และแข่งขันในระบบทุนนิยมได้ แรงงานในระบบจ้างเหมาค่าแรงจึงมักตกหล่น ไม่ได้รับสิทธิแรงงานตามกฎหมายแรงงานไทยอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคเมื่อเทียบกับแรงงานประจำ จึงเปรียบได้ว่าเป็นการเติบโตบนการขูดรีดผลประโยชน์และความมั่นคงในชีวิตของแรงงานจ้างเหมาค่าแรง แม้จะมีการแก้ไขกฎหมายใหม่หลายครั้ง เพื่อให้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อแรงงานรับเหมาค่าแรง ในทางปฏิบัติแรงงานรับเหมาค่าแรงยังคงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรมจนถึงปัจจุบัน และยังคงมีการจ้างงานแรงงานรับเหมาค่าแรงอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมหนักผ่านบริษัทตัวแทนรับเหมาค่าแรง เหตุผลหลักของแรงงานที่เลือกทำงานเป็นลูกจ้างเหมาค่าแรง หรือผ่านบริษัทรับเหมาค่าแรงนั่นคือ บริษัทรับเหมาค่าแรงทำให้แรงงานเข้าถึงงานได้จริง ง่าย รวดเร็ว แม้มีคุณสมบัติที่ไม่ตรงกับที่โรงงานกำหนดไว้ และได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการที่คำนวณเป็นตัวเงินแตกต่างจากแรงงานประจำประมาณเดือนละหลายพันบาทต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานไทย และการยอมรับต่อความเหลื่อมล้ำในการจ้างงาน แม้จะมีแรงงานรับเหมาค่าแรงถูกละเมิดสิทธิ และไร้ความมั่นคงในการทำงานก็ตาม อ้างอิง มนตรี ปานแดง และ สุภาพร นาจันทัศ. การละเมิดสิทธิแรงงานในระบบการจ้างเหมาค่าแรงในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะ. กรุงเทพฯ: ศูนย์อเมริกันเพื่อแรงงานนานาชาติ, 2549. สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์. “จ้างเหมาค่าแรง สะท้อนคุณภาพชีวิตแรงงานไทย” สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.… Continue reading รณรงค์ยกเลิกจ้างเหมาช่วง
สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็ก
เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม พ.ศ. 2540 แรงงานกลุ่มต่าง ๆ ยังคงมีการจัดกิจกรรม รณรงค์ รวมถึงยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเช่นเดิมในทุก ๆ ปี เพียงแต่ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในปีนี้นั้น คณะทำงานสตรีสากล ซึ่งประกอบไปด้วย ฝ่ายสตรีสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสตรี ได้ร่วมกันเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในเรื่อง “สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ในย่านอุตสาหกรรมและชุมชน” ให้เพียงพอ โดยรัฐต้องจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนให้ส่วนนี้แก่กระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้สามารถจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กได้ พร้อมทั้งเน้นการให้บริการเลี้ยงดูบุตรก่อนวัยเรียนของลูกจ้างและประชาชนที่มีรายได้ต่ำในชุมชนหรือย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมถึงองค์กรชุมชน องค์กรแรงงาน ตลอดจนแรงงานในท้องถิ่นในย่านอุตสาหกรรมนั้น ๆ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง บริหาร และการจัดการให้มีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการประชาชนได้อย่างแท้จริง หากแต่ระยะเวลาล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน นโยบายด้านดังกล่าวกลับไม่ถูกพูดถึง แม้ในสภาผู้แทนราษฎรจะมีการอภิปรายด้านงบประมาณ ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างศูนย์เด็กเล็กในท้องถิ่นก็ตาม อ้างอิง บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ. ขบวนการสหภาพแรงงานไทยจาก รสช. ถึงยุค IMF. กรุงเทพฯ: มูลนิธิอารมณ์… Continue reading สวัสดิการศูนย์เลี้ยงเด็ก
เราสู้! เพื่อประกันการว่างงาน
ผ้าโพกศีรษะรณรงค์เรื่องประกันการว่างงาน ขบวนการแรงงานหลายกลุ่มพยายามเรียกร้องสิทธิว่างงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจนทำให้แรงงานถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ทำให้กระแสการเรียกร้องยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะกระแสจากแรงงานสิ่งทอ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ได้เริ่มจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ความสำคัญประกันสังคมด้านการว่างงาน ตั้งแต่เดือนแรกของปี 2540 รวมทั้งมีการจัดงานร่วมเสนอข้อมูล ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนในสมาชิกสหภาพกับประชาชนทั่วไปเพื่อเตรียมพร้อมทางความคิดตลอดทั้งปี แม้ว่าในช่วงวิกฤติ สำนักงานประกันสังคมจะลดอัตราเงินสมทบจากอัตรา 1.5 ของค่าจ้างให้เหลือ 1% ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541-2543 ก็ตาม แต่ลูกจ้างหลายกลุ่มมองว่า คนตกงานจำนวนมากยังขาดหลักประกันสังคมที่รองรับอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ ควรคิดการขยายสิทธิประโยชน์ไปช่วยคนงานที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับสวัสดิการจากกองทุนฯมากขึ้นแทนการลดเงินสมทบ จนกระทั่งในวันที่ 27 กันยายน 2544 คณะกรรมการประกันสังคม ได้มีมติให้ความเห็นชอบเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การดำเนินงานประกันสังคม กรณีการว่างงาน ตามที่คณะอนุกรรมการเตรียมการประกันสังคมกรณีการว่างงานเสนอ แม้รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานจะพยายามหลีกเลี่ยงและยืดระยะเวลาในการบังคับใช้กรณีการว่างงานออกไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ก็ตาม ภายหลังจึงมีการประกาศใช้ โดยเริ่มเก็บเงินสมทบตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 และเริ่มจ่ายประโยชน์ทดแทน 1 ก.ค. 2547 โดยรัฐบาลไทยรักไทย และต่อเนื่องไปจนถึงสมัยพรรคชาติพัฒนาเป็น รมว. ได้ประกาศใช้ แม้ในช่วงแรกจะประสบปัญหาด้านเทคนิค อาทิ ความล่าช้าของระบบประกันสังคม เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศมีอยู่เพียง 85… Continue reading เราสู้! เพื่อประกันการว่างงาน
จักรอุตสาหกรรมดาวรุ่งไทยในอดีต
จักรเย็บผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ นับว่าเป็นเครื่องจักรและอุตสาหกรรมดาวรุ่งของประเทศไทยในอดีตเป็นอย่างมาก แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 หลายธุรกิจล้มละลาย ประกอบกับการย้ายฐานการผลิตขนานใหญ่ เพื่อไปแสวงหาแรงงานราคาถูกในการผลิต สำหรับการแข่งขันในตลาดเสรี ทำให้โรงงานสิ่งทอมีการปิดตัวลงจำนวนมาก คนงานถูกเลิกจ้างนับหลายหมื่นราย ตัวอย่างคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกย่านรังสิต บริษัท ไทยแอร์โร่การ์เม้นท์ มีคนงานประมาณ 3,000 กว่าคน และบริษัท ไทยแอร์โร่ (บริษัทใหญ่) มีคนงานอีกประมาณ 2,000 กว่าคน รวมทั้งสองโรงงานในเครือ มีคนงานประมาณ 5,000 กว่าคน ถูกเลิกจ้างกระทันหันและนายจ้างไม่มีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่แรงงานได้รับผลกระทบจากวิกฤตต้มยำกุ้ง รวมถึงความไม่เป็นธรรมจากกฎหมาย และนายจ้างเป็นอย่างมาก จนมีการรวมตัวกันฟ้องศาล เจรจาข้อเรียกร้องในปี 2542 และยืดเยื้อกินระยะเวลาถึงปลายปี 2543 เพื่อยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในโรงงาน นำเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่น ๆ ออกประมูลขาย เพื่อให้ได้เงินกลับมาเยียวยาคนงานกันเอง ภายหลังจากโรงงานปิดตัวลง แต่ถึงกระนั้นเงินที่ได้รับจากการประมูลขายก็ยังไม่เพียงพอในการจ่ายให้ครบทุกคน และไม่เพียงพอต่อค่าชดเชยที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ปี 2542 เจรจาข้อเรียกร้อง
แรงงานภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
ชุดฟอร์มโรงงานสิ่งทอ บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด โรงงานหนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอจำนวนมากที่ต้องปิดตัวลงไปจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมสิ่งทอระดับโลก และจากการได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกลางปี 2540 หรือที่เรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ระบบเศรษฐกิจทั้งระบบตกอยู่ในสภาวะวิกฤต การลงทุนหยุดชะงัก ธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมจำนวนมากปิดตัวลง โดยเฉพาะโรงงานสิ่งทอ วิกฤตการณ์ครั้งนี้ทำให้รัฐบาลจำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก พ่วงด้วยเงื่อนไข IMF ที่ก่อให้เกิดชุดกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ หรือที่ถูกกล่าวขานว่าเป็น กฎหมายขายชาติ ที่หนึ่งใน 11 ฉบับมีกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ ที่ก่อให้เกิดการลุกฮือคัดค้านหลายระลอกตามมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ ส่งผลให้แรงงานในระบบถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก โดยมีข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า มีจำนวนลูกจ้างถูกเลิกจ้างตลอดปี 2540 เป็นจำนวน 408,557 คน และตัวเลขยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงสิ้นปี 2541 มีลูกจ้างถูกเลิกจ้างและลาออกอีกอย่างต่ำ 2.9 แสนคน รวมทั้งสิ้นเกือบ 7 แสนคน ยังไม่นับรวมกิจการขนาดเล็ก กิจการก่อสร้างที่ไม่ได้แจ้งเข้าระบบประกันสังคมอีกด้วย และที่สำคัญ แรงงานส่วนใหญ่เหล่านี้มักไม่ได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ผู้ใช้แรงงานในหลายกิจการถูกลดค่าจ้าง รวมถึงสวัสดิการ มีการเอารัดเอาเปรียบหลากหลายรูปแบบในวิกฤตช่วงนั้น โดยมีข้อมูลจากศาลแรงงานกลางระบุว่า จำนวนคดีที่ขึ้นสู่ศาลแรงงาน… Continue reading แรงงานภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
ผ้าโผกหัวรณรงค์ทวงสิทธิกรณีเคเดอร์
“…เห็นข่าวลูกสาวเศรษฐีแต่งงานเป็นงานช้างของขวัญล้นหลามอดสะท้อนใจถึงคนงานหญิงหลายชีวิตในโรงงานที่ตระกูลของท่านเป็นเจ้าของร่วมอยู่ไม่ได้เธอเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้เสวยสุขแม้เพียงกระผีกริ้นของท่านเศรษฐีทั้งหลายตายไปโดยชะตากรรมเธอไม่ได้เลือกและโดยความทารุณที่สร้างขึ้นทางอ้อมจากเส้นทางที่นำไปสู่ความเป็นเศรษฐีของคนที่กินแรงงานของเธอค่าชีวิตของเธอกลับถูกต่อรองคนเขาหาว่าเธอเป็นแค่แรงงานหญิงค่าไม่ควรเกินแสนบาททำไมชีวิตของคนที่ทำงานหนักหาเลี้ยงคนอื่นให้กำไรกับนายจ้างให้ค่าเล่าเรียนแก่น้องให้ความอยู่รอดกับพ่อแม่ให้อนาคตกับลูกหลานให้ความสุขกับพี่น้องจึงถูกตีค่าต่ำกว่าชีวิตลูกสาวเศรษฐี…” ส่วนหนึ่งในจดหมายระบายความคับแค้นใจของนักกิจกรรมหญิงที่จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ทวงสิทธิ กรณีโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ที่มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นแรงงานชาย 14 ราย แรงงานหญิง 174 ราย และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน จนเกิดการตั้งคณะกรรมการรณรงค์สุขภาพความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนผลักดันให้รัฐบาลแต่งตั้งตัวแทนจากแรงงานและนักวิชาการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการช่วยเหลือลูกจ้างที่ประสบภัยที่เสียชีวิตและทุพพลภาพ การต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่มากพอดั่งหวังเท่าใดนัก อาทิ เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านเงินช่วยเหลือแรงงานผู้เสียชีวิตและทุพพลภาพคนละ 1 แสนบาท และให้รัฐบาลประกาศว่าวันที่ 10 พฤษภาคมของทุกปี ให้เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ท้ายที่สุด รัฐบาลลงมติเห็นชอบ และอนุมัติในวันที่ 26 สิงหาคม 2540 ซึ่งใช้เวลานานกว่าหลายปี แม้ปัจจุบันจะผ่านมา 20 กว่าปีแล้ว แต่ปัญหาด้านความปลอดภัยในที่ทำงานยังคงไม่ครอบคลุม เช่น การได้รับสารเคมีจากการทำงาน สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย การทดแทนเยีวยาล่าช้าและมีเงื่อนไขมากมาย ฯลฯ ซ้ำร้ายยังขยายไปยังแรงงานภาคส่วนอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและคนในชุมชนโดยรอบ อ้างอิง… Continue reading ผ้าโผกหัวรณรงค์ทวงสิทธิกรณีเคเดอร์
เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้
โรงงานตุ๊กตาเกิดเพลิงไหม้ นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของคนงานเคเดอร์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน พิสูจน์ตัวตนจากซากศพไม่ได้จำนวน 10 คน ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน และจากการสำรวจพบว่ามีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวที่โรงงาน เสียชีวิตจำนวน 5 คน อยู่ชั้น ม.2 จำนวน 1 คน ชั้น ม.3 จำนวน 2 คน ชั้น ม.4 จำนวน 1 คน และชั้น ม.6 จำนวน 1 คน แรงงานที่เสียชีวิตเหล่านั้น มีบุตรกำลังศึกษาเล่าเรียน จำนวน 64 ราย และยังเป็นทารก จำนวน 19 ราย ปัญหาการเอาเปรียบคนงานของผู้ลงทุน โดนไม่สนใจความปลอดภัยในการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงปัญหาการดำเนินการสอบสวนปัญหาและช่วยเหลือคนงานผู้ประสบภัยของรัฐบาล ทำให้กลุ่มแรงงานต่าง ๆ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการแรงงาน… Continue reading เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้
ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้
ตุ๊กตาเหล่านี้ถูกเก็บมาจากซากโรงงานผลิตตุ๊กตาและของเล่นเด็ก บริษัท เคเดอร์อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไทยจิว ฟู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายการผลิตทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอีกหลายแห่งทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่จนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ ส่งผลให้คนงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นคนงานชาย 14 ราย ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง 174 ราย ไม่สามารถพิสูจน์ซากศพเพื่อระบุตัวตนได้ จำนวน 10 คน รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน โดยมีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวในโรงงานอีกด้วย นับว่าเป็นอุบัติภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในภาคอุตสาหกรรมไทย สาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียจำนวนมาก เนื่องจากโรงงานดังกล่าวขาดมาตรฐานหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อให้มีวัสดุหุ้มป้องกันไฟ ทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้โครงสร้างจึงพังทลายลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีระบบเตือนภัย ประกอบกับเสียงเย็บจักรทำให้คนงานไม่ทราบเหตุการณ์ รวมถึงบันไดขนาดกว้าง 1.60 เมตร จำนวน 2… Continue reading ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้
แผ่นพับรณรงค์ลาคลอด 90 วัน
ภายหลังจากองค์กรแรงงาน และกลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และจัดตั้ง “คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอด” ขึ้น โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิลาคลอดได้มีการทำแผ่นพับรณรงค์แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ให้ได้สิทธิลาคลอด 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนจากนายจ้าง เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมการเรียกร้องจัดเวทีอภิปราย และผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อกดดันรัฐบาล ในท้ายที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้มีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 13) วันที่ 28 เมษายน 2536 และได้มีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2536 โดยมีเนื้อหาให้ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 90 วัน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน ส่วนค่าจ้างอีก 45 วัน ไปรับจากกองทุนประกันสังคม ด้วยเหตุผลจากกองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยออกแถลงการณ์ว่า “สิทธิประโยชน์ควรได้รับจากระบบประกันสังคม ไม่ใช่จากนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว” โดยจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมต่อไป ซึ่งพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ได้ผ่านรัฐสภา และมีผลบังคับใช้ในปี 2538 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันนานถึง 2 ปี