ประท้วงลาคลอด 3 เดือน บนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

“ฉันต้องการที่จะอยู่กับลูกที่เพิ่งคลอดของฉันเพื่อที่จะให้นมลูก เพื่อที่จะให้ลูกของฉันมีสุขภาพที่ดีมันมากไปหรอสำหรับคำขอของคนเป็นแม่”  การตั้งคำถามของคุณแม่คนหนึ่งที่ทำงานในโรงงานทอผ้า ละออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นแม่ การเรียกร้องของคุณแม่และหญิงสาวทั้งหลาย เสมือนเป็นตัวแทนของความโกรธของแรงงานหญิงครึ่งหนึ่งของประเทศที่มีความต้องการเหมือนกัน นั่นคือ สิทธิการลาคลอด 3 เดือน โดยยังคงได้รับเงินเดือนตามปกติ พวกเขาต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนและร่างกฎหมายนี้แต่กลับกลายเป็นถูกยื้อเวลาเนื่องจากไม่มีใครต้องการจ่ายเงินส่วนนี้ และหากกฏหมายนี้ผ่าน ทางรัฐบาลเกรงว่านักลงทุนต่างประเทศจะหนีไปหาที่ลงทุนอื่นในต่างประเทศไทย กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเฟมินิสต์ต่าง ๆ จึงร่วมกันออกมาสนับสนุน และเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของคุณแม่ทั่วโลกในวันสิทธิสตรีสากล วันที่ 8 มีนาคม ทั้งที่ในช่วงเวลานั้นเศรษฐกิจของไทยเติบโตพุ่งสูงขึ้น รวมทั้งมีอัตราการเกิดของเด็กที่มากขึ้นเช่นกัน แต่ประสิทธิภาพของกฎหมายลาคลอดให้แก่คุณแม่กลับไม่ยุติธรรม และมีการเลือกปฏิบัติระหว่างคุณแม่ที่ทำงานในภาครัฐกับคุณแม่ที่ทำงานในภาคเอกชนอย่างชัดเจน  โดยแรงงานหญิงภาคเอกชนลาคลอดได้ 1 เดือน และลาคลอดได้ 2 เดือนในระบบราชการ แต่สามารถขอขยายเพิ่มได้ถึง 3 เดือน ซึ่งเป็นการนับรวมกับสิทธิลาป่วยและสิทธิในการลาทำธุระ  หากย้อนศึกษาการให้เงินสนับสนุนการลาคลอดของต่างประเทศในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่า ลูกจ้างสตรีในญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ได้สิทธิลาคลอด 105 วัน ส่วนในยุโรปนั้นได้ถึง 7 เดือน ในสวีเดนได้ถึง 1 ปี และประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่าง ประเทศลาว อินโดนีเซีย และพม่า รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนการลาคลอด 3 เดือนกับคุณแม่ทุกคน ดั่งเช่นกับข้อเรียกร้องของคุณแม่… Continue reading ประท้วงลาคลอด 3 เดือน บนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน

ธงกระดาษที่แรงงานหญิงใช้ในการรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องในปี พ.ศ.2536 แรงงานสตรีได้ทำการรณรงค์เรียกร้องให้แรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องมาจากปี 2534 ของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน กับสหพันธ์แรงงานและกลุ่มแรงงานสตรีจากย่านพระประแดง อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และรังสิต ต่อคณะรัฐมนตรียุคอานันท์ ปันยารชุน โดยต่อมา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2534 รัฐบาลลองเริ่มนำร้องโดยการประกาศระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2535 เรื่องการลาคลอด 90 วันกับข้าราชการก่อน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 เป็นต้นไป เดิมทีข้าราชการสามารถลาคลอดและได้รับเงินเดือน 60 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ไม่เสียสิทธิในพิจารณาขั้นเงินเดือน เพิ่มให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 90 วัน และหากต้องการลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อไปอีก ให้ลาได้ไม่เกิน 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน สำหรับแรงงานหญิงในภาคเอกชนกลับไม่มีมติ หรือนโยบายที่จะให้สิทธิเช่นเดียวกันกับข้าราชการหญิงทั่วไป และรัฐบาลยังได้ให้ความเห็นต่อสื่อว่า “ถ้าให้ลาได้ 90 วัน ต่อไปจะเกิดลูกหัวปีท้ายปีเพื่อให้ได้ลาคลอด” เพราะเดิมทีแรงงานสามารถลาคลอดได้เพียง 60 วัน… Continue reading ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน

อนุสัญญา ILO 87-98

ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน กฎหมายว่าด้วยการประกันสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพนี้ ล้วนผ่านการต่อสู้เรียกร้องของผู้ใช้แรงงานมาอย่างยาวนานตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังจากถูกคณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกประกาศยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในปี 2499 ปัจจุบันกฎหมายแรงงานสัมพันธ์มีส่วนช่วยยกระดับแรงงานไทยในหลายมิติเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการแบ่งแยกแรงงานข้ามชาติออกจากแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติเหล่านั้นจึงเสมือนปราศจากการคุ้มครองตามกฎหมาย ไร้สิทธิการต่อรองและตั้งสหภาพของตนเอง ทั้งนี้เพื่อลดทอนโอกาสการรวมตัว และเพื่อประโยชน์ในการกดค่าแรง วันแรงงานสากลในปี พ.ศ. 2535 ขบวนการแรงงานเริ่มยื่นข้อเรียกร้องการให้สัตยาบัน ILO 87 และ ILO 98 ต่อรัฐบาลเป็นครั้งแรก ILO (International Labour Organization) หรือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2462 จากการรวมตัวของประเทศสมาชิก 45 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 187 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานแรงงานให้เกิดขึ้นในทุกประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพของความคุ้มครองทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ใช้แรงงานบังคับ ห้ามมีการเลือกปฏิบัติในการทำงาน และอนุสัญญาฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิการรวมตัว และอนุสัญญาฉบับที่ 98… Continue reading อนุสัญญา ILO 87-98

ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานถูกอุ้มหาย

“ถ้าพ่อหายไป 3 วันให้แจ้งความแสดงว่าถูกลักพาตัว และหากไม่ติดต่อมาใน 7 วัน ให้ทำใจพ่อเสียชีวิตแน่“ ทนงหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังทิ้งคำสั่งเสียสุดท้ายแก่ลูกเมีย ทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย องค์กรที่มีสมาชิกแรงงานมากที่สุด เขาได้รับการยอมรับจากทั้งในประเทศและระดับสากล และยังมีบทบาทเป็นกรรมการสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (ICFTU) ที่สำคัญ ทนงเป็นผู้นำแรงงานที่มีบทบาทนำในการแข็งข้อกับเผด็จการ คณะ รสช. นำโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร เจ้าของประโยค “ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร” หลังทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เพียงสามวัน ได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศเข้าพบ รวมถึง ทนง โพธิ์อ่าน ต่อมาได้ประกาศใช้คำสั่งฉบับ 54 ยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาของแรงงาน การรัฐประหารครั้งนี้ นับเป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกภายในขบวนการแรงงาน 2 กลุ่มหลักอย่างชัดเจน ระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา โดยการถือกระเช้าเข้าพบแสดงความยินดีหลังทำการรัฐประหาร และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย แกนนำหลักขณะนั้นคือ ทนง โพธิ์อ่าน ทนงได้ประณามการประกาศใช้กฎอัยการศึกและความต้องการสลายพลังขบวนการแรงงานภาคเอกชนกับแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากกัน โดยได้แสดงทัศนะที่ชัดเจนแข็งกร้าวและคัดค้านคำสั่งต่อคณะ รสช. การเคลื่อนไหวของทนงได้รับการตอบรับจากขบวนการแรงงานสากลอย่างกว้างขวาง และได้เป็นผู้แทนคนงานไทยไปประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ… Continue reading ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานถูกอุ้มหาย

แยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชน

“ทุกข์ของกรรมกรถือเป็นทุกข์ของทหาร”  คำชี้แจงของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) หลังทำรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และเพียงสามวันให้หลังได้ประกาศเรียกผู้นำแรงงานทั่วประเทศให้เข้าพบ เพื่อชี้แจงนโยบายและเหตุผลในการยึดอำนาจ พร้อมกล่าวคำชี้แจงในประโยคข้างต้น ก่อนภายหลังจะใช้อำนาจในการกำจัดสิทธิการเรียกร้องสิทธิแรงงาน และกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ รสช. ด้วยการประกาศคณะ รสช.ฉบับที่ 54 แก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เพื่อควบคุม จำกัดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงานในภาคเอกชน ห้ามให้คนนอกเป็นที่ปรึกษาสหภาพ และมีการผ่านร่างกฎหมายโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นเอง แยกพนักงานรัฐวิสาหกิจออกจากพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งส่งผลให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องถูกยกเลิกไป ต้องรวมตัวกันจดทะเบียนภายใต้รูปแบบสมาคมใหม่อีกครั้งภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 แทน  ขบวนการแรงงานส่วนหนึ่งที่มุ่งสวามิภักดิ์เผด็จการ โดยการมอบช่อดอกไม้สนับสนุนคณะ รสช. พร้อมทั้งร่วมขับเคลื่อนงานไปกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 อย่างสงบภายใต้คำสั่งของคณะ รสช. การแสดงตนว่าเห็นด้วยกับการให้คนนอกเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางกระแสเรียกร้องของสังคมว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจ 3 คนและผู้นำแรงงานภาคเอกชนอีกหนึ่งคนได้รับการแต่งตั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยทั้งสี่คนพยายามคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แยกพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผ่านการแปรญัตติและลงมติไม่เห็นชอบในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์นี้ในสภาฯ แต่ก็ไม่เป็นผล… Continue reading แยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชน

ประตูแดง กับ 2 พนักงานการไฟฟ้า

24 กันยายน 2519 พบศพพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 ราย ได้แก่ วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย หลังจากติดโปสเตอร์ต่อต้านการกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่ขณะนั้นบวชเป็นสามเณรกลับเข้าประเทศไทย มีคนพบร่างของทั้งสองคนถูกแขวนคอ ที่ประตูเหล็กในสถานที่ส่วนบุคคลแห่งหนึ่ง บริเวณสามแยกกระบือเผือก ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในลักษณะประจานเพื่อให้ประชาชนคนอื่น ๆ ได้พบเห็นอย่างจงใจโดยเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐกลุ่มหนึ่ง แต่เรื่องกลับเงียบหาย ผู้กระทำไม่ถูกลงโทษทั้งทางกฎหมายหรือทางสังคมจนกระทั่งปัจจุบัน และเหตุการณ์นี้เป็นดั่งสารตั้งต้นในการแสดง “ละครแขวนคอ” โดยนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2519 ชนวนหนึ่งในการเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่นักศึกษาจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองและถูกปราบปราม ทำร้าย ทารุณและบางรายถูกจับแขวนคอใต้ต้นไม้บริเวณท้องสนามหลวง ประตูเหล็กถูกกัดกร่อนตามกาลเวลา ทำให้ปัจจุบันประตูเหล็กบานดังกล่าวมีสีน้ำตาลแดงของสนิมจึงถูกเรียกขานว่า “ประตูแดง” ปัจจุบันมีการรื้อถอนและเก็บรักษาประตูแดงเอาไว้ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมรำลึก และจัดแสดงเพื่อให้เห็นถึงความรุนแรงโดยรัฐ

การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า

“โดนเข็มตำมือเขาบอกให้เอาน้ำมันหยดแล้วกัน” ชอเกียง แซ่ฉั่ว ผู้นำการต่อสู้ของแรงงานหญิงฮาร่า กางเกงยีนส์ฮาร่าเป็นกางเกงยีนส์ที่มีชื่อเสียงและขายดีมาก โดยมีเจ้าของเป็นนายทุนจีนเชื้อสายไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในซอยวัดไผ่เงิน ตรอกจันทร์ 3 โรง ต่อมากิจการได้กำไรดีจึงได้ขยายไปตั้งโรงงานที่อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐมอีก 1 โรง โรงงานที่ตรอกจันทร์ซึ่งเป็นโรงงานแรกเริ่ม คนงานเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นคนจีนเนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในย่านคนจีน ขณะที่เจ้าของโรงงานได้กำไรมหาศาล แต่กลับไม่ได้สนใจคนงานปล่อยให้โรงงานมีสภาพแวดล้อมย่ำแย่และสวัสดิการที่เลวร้าย การขยายโรงงานไปยังที่ใหม่ทำให้นายจ้างพยายามจะเอารัดเอาเปรียบคนงานโดยการลดค่าจ้างคนงานในโรงงานเก่า คนงานพยายามจะเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518   คนงานโรงงาน 1 ที่ตรอกจันทร์และที่อ้อมใหญ่ภายใต้การนำของ ชอเกียง แซ่ฉั่ว ได้พร้อมใจกันนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสวัสดิการ แต่กลับได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรง หลังจากที่การนัดหยุดงานยืดเยื้อกว่า 3 เดือน คนงานได้ตัดสินใจยึดโรงงานที่วัดไผ่เงินมาทำการผลิตเอง โดยการขายหุ้น ระดมทุนจากประชาชนที่เห็นใจคนงานมาซื้อวัตถุดิบมาดำเนินการเอง โดยใช้ชื่อว่า “โรงงานสามัคคีกรรมกร” ทำการผลิตเสื้อและกางเกงยีนส์ออกจำหน่ายในราคาถูก ในที่สุดโรงงานสามัคคีกรรมกรของคนงานฮาร่าก็ถึงกาลอวสานเมื่อรัฐส่งเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามอย่างรุนแรง คนงานหลายคนถูกจับกุมดำเนินคดี ต่อมาได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาพิจารณากรณีพิพาทแรงงานโรงงานฮาร่าประกอบด้วยดร.เขียน  ธีระวิทย์  อารมณ์ พงศ์พงัน และดนัย บุญนาค คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งชี้ขาด ให้นายจ้างรับคนงานที่หยุดงานกลับเข้าทำงาน ตามปกติ แต่นายจ้างไม่ยอมรับ… Continue reading การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า

เหรียญวีรชน 14 ตุลา

เหรียญวีรชน 14 ตุลาฯ เป็นเหรียญที่ระลึกในการต่อสู้ของเหล่าวีรชนโดยปราศจากอาวุธ จากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนนท) จัดทำขึ้นเพื่อแจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพวีรชนผู้เสียชีวิต กรณี 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ณ เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2517  วันที่ ๑๔ ตุลา น่าอนาถ เขาพิฆาต เข่นฆ่า จนอาสัญ คือลูกแม่ อรรณพ ดิษฐสุวรรณ สู่สวรรค์ ชั้นวิมาน สะท้านใจ แต่นี้ไป ใครเล่า จะเรียกแม่ สุดทางแก้ เหลียวแล ชะแง้หา เจ้าไปแล้ว ไปลับ ไม่กลับมา แม่มีแต่ โศกา และอาดูร ขอฟ้าดิน จงเป็น พยานเถิด ให้ลูกข้า บังเกิด ในภพหน้า อย่ามีมาร ตามราญ ผลาญชีวา เป็นสุข… Continue reading เหรียญวีรชน 14 ตุลา

หนังสือพิมพ์ ฉบับสดุดีวีรชน

ภาพของ นาย ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว (ไอ้ก้านยาว) นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะกำลังถือไม้ขึ้นต่อสู้กับทหารที่มีอาวุธครบมือในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นช่างภาพที่เก็บภาพถ่ายนี้ คือ นายแปลก เข็มพิลา และได้รับการตีพิมพ์อยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ “ฉบับสดุดีวีรชน” ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2516 

โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

วัตถุจัดแสดงกลุ่มนี้เป็นการรวบรวม สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ หนังสือ เกี่ยวกับการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค (วันที่ 14 ตุลาคม 2516) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเป็นอย่างมากในหลายมิติ และยังก่อให้เกิดการฟื้นฟูขบวนการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่ถูกปราบปรามในช่วงยุครัฐบาลเผด็จการอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคถนอม ประภาส ณรงค์ ในปี 2516 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวขบวนการแรงงานของสหภาพแรงงาน ที่กลับมามีบทบาทสำคัญทั้งบทบาทการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ให้เพื่อนคนงานด้วยกันเองผ่านการนัดหยุดงาน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก่อให้เกิดกระแสการนัดหยุดงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเป็นประวัติกาล ในปี พ.ศ. 2517 มีจำนวน 357 ครั้ง และในอีกสองปีถัดไปรวมกันจำนวนกว่า 374 ครั้ง  ตลอดจนบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องปัญหาทางสังคมในประเทศขณะนั้น และมีการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดร่วมกับกลุ่มพลังสำคัญของสังคม นั่นคือ ขบวนการนักศึกษา และขบวนการชาวนา อาจนับได้ว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการกรรมกรในยุค 14 ตุลาคม 2516 จนกระทั่งถึงยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีส่วนร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่น… Continue reading โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516