แม้สยามจะเป็นประเทศหนึ่งที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ครั้งแรก) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2462 โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทั้งหลาย ตรากฎหมายแรงงานขึ้นเพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน แต่รัฐบาลสยามขณะนั้นก็ยังไม่ยินยอมตรากฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ โดยให้เหตุผลว่าประเทศสยามเป็นประเทศกสิกรรมมีแรงงานจำนวนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม องค์กรแรงงานระหว่างประเทศก็เร่งรัดตลอดมา เพื่อให้ประเทศสยาม (ไทย) ตราพระราชบัญญัติแรงงานออกมาใช้ จนในที่สุดรัฐบาลก็ได้ทำร่างกฎหมายแรงงานฉบับแรกออกมาในปี พ.ศ. 2470 เรียกว่า “พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมและกรรมกร 2470” ร่างกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยในการทำงานของกรรมกร แต่ก็ยังไม่มีการให้สิทธิแก่คนงานในการจัดตั้งองค์กร (สหภาพ) และไม่ให้อำนาจกับแรงงานในการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวฉบับไม่ได้ถูกประกาศใช้แต่อย่างใด โดยมีเพียงแค่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจ้างแรงงาน ในปี พ.ศ. 2472 เท่านั้น กาลต่อมาได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499” ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ถือว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรกของไทย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องของ การจำกัดชั่วโมงการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ สิทธิหยุดลาคลอด การรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงาน การห้ามใช้แรงงานเด็ก และสวัสดิการในที่ทำงาน เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์… Continue reading กฎหมายแรงงานฉบับแรก
Category: Collection – Room 3
หนังสือพิมพ์กรรมกร
“…ด้วยเห็นทุกข์แก่เพื่อนกันเช่นนี้พวกเราซึ่งเป็นคนงานจึงได้รวบรวมเงินเล็กน้อยที่เข้าใจว่าเหลือจากนายจ้างอุบาทว์ได้รีดเอาไปโดยมิชอบธรรมคิดจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้น โดยขนานนามหนังสือพิมพ์นี้ว่า ‘หนังสือพิมพ์กรรมกร’ ด้วยความมุ่งใจเป็นส่วนใหญ่คือหวังจะประหารสภาพแห่งการเป็นทาษซึ่งเป็นฉายาแฝงอยู่ในตัวคนงานฤาลูกจ้างให้ปลาศไปและให้อิศรภาพเข้ามาแทนที่” ถวัติฤทธิเดช – คำนำของหนังสือพิมพ์กรรมกร27 มกราคม 2465 หนังสือพิมพ์กรรมกร (พ.ศ. 2465-2467) นับเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทต่อสมาคมคนงาน และสร้างสำนึกทางการเมืองของแรงงานเป็นอย่างยิ่ง ผ่านปัญญาชนเสรีนิยมที่เรียกตนเองว่า “คณะกรรมกร” หรือคณะกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ประกอบไปด้วย ถวัติ ฤทธิเดช, สุ่น กิจจำนงค์, ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร, ถวัลย์ ชาติอาษา และขุนสมาหาร หิตะคดี (โประ โปรคุปต์) คณะกรรมกรได้กลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางความคิดและการเมืองแก่ขบวนการแรงงานในขณะนั้น ซ้ำยังเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิแรงงาน ปลูกฝังความคิดทางการเมืองและประชาธิปไตยแก่คนงาน รวมถึงการมีบทบาทในการจัดตั้งกรรมกรรถรางขึ้น ซึ่งกลายไปเป็นฐานสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเหตุการณ์กบฏบวรเดช ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะกรรมกร เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นสมาคมคนงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2529) อ้างอิง สังศิต พิริยะรังสรรค์. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม… Continue reading หนังสือพิมพ์กรรมกร
เทียนวรรณ
เทียนวรรณ หรือ เทียน วัณณาโภ นามปากกา “ต.ว.ส. วัณณาโภ” (พ.ศ. 2385 – 2458) นับเป็นหนึ่งในปัญญาชนหัวก้าวหน้าที่ปรากฏขึ้นในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยปัญญาชนหลายคนในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้เห็นถึงความสำคัญและความทุกข์ยากของผู้ใช้แรงงาน จนเกิดการสะท้อนปัญหา ตลอดจนเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง ผ่านการใช้ปากกาและงานเขียนของตน หรือเคลื่อนไหวเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับผู้ใช้แรงงาน และหนึ่งในปัญญาชนนักคิดเหล่านั้นก็คือ “เทียนวรรณ” เทียนวรรณ เป็นนักคิดสามัญชนรุ่นบุกเบิก เป็นทนายความ และเป็นผู้ทำหนังสือตุลวิภาคพจนกิจ และหนังสือศิริพจนภาค ออกมาเพื่อเผยแพร่ความคิดสมัยใหม่ เขาเป็นผู้เล็งเห็นความสำคัญของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในขณะยุคสมัยนั้นที่ถูกเรียกขานว่า “ไพร่-ทาส” เขาเรียกร้องให้นำเอาระบบรัฐสภามาใช้ในการเมืองไทย เพื่อให้ผู้คนได้เสมอภาคกันในสังคม และนั่นทำให้เขาต้องถูกคุมขังอยู่นานถึง 17 ปี เนื่องจากความคิดของเขาก้าวหน้าเกินกว่าที่ผู้ปกครองในสมัยนั้นจะรับได้ ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย ขอให้เห็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่างนิ่งนาน ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย
ใบปลิวเรียกร้องของอู่ลากรถ
การเคลื่อนไหวครั้งแรกของกุลีลากรถเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2459 โดยมีกรรมกร 5 คนได้ร่วมกันออกประกาศให้จีนลากรถหยุดลากรถในวันที่ 4 เมษายน แต่ในวันดังกล่าวยังคงมีจีนลากรถบางส่วนออกมาทำงานตามปกติ ทำให้ถูกพวกรถลากด้วยกันทำร้าย เอกสารที่เห็นอยู่นี้เป็นเอกสารของกรรมกรลากรถชาวจีนทำใบปลิวรณรงค์เรียกร้องไม่ให้เพื่อนคนงานไปลากรถให้กับนายทุนเจ้าของอู่ที่เอาเปรียบคนงาน โดยใช้วิธีสาปแช่งคนที่ไม่ให้ความร่วมมือ แม้ท้ายที่สุดจะได้รับการเจรจาระงับการขึ้นค่าเช่ารถของเจ้าของรถตามเดิม พร้อมรับรองความปลอดภัยระหว่างการลากรถ การต่อสู้ของกุลีลากรถครั้งใหญ่ปรากฏขึ้นในปี พ.ศ. 2475 กุลีลากรถจำนวน 6,000 คน ในกรุงเทพฯ ได้ทำการสไตรค์หยุดลากรถ เนื่องจากเจ้าของอู่รถค้ากำไรเกินควร โดยคิดอัตราค่าเช่ารถสูงกว่าอัตราที่ทางการกำหนด นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม และยุติลงในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2475 หลังเจ้าของอู่รถได้ตกลงยินยอมลดค่าเช่า การสไตรค์หลายครั้งของกุลีจีนกลุ่มนี้แม้จะประสบความสำเร็จแต่กลับไม่ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้อย่างแท้จริง เป็นการต่อสู้ให้มีชีวิตอยู่รอดเพียงเท่านั้น กุลีลากรถ หรือที่คนเรียกติดปากว่ารถเจ๊ก เกิดขึ้นในยุคที่กรุงเทพฯ กำลังพัฒนาเป็นเมืองศิวิไลซ์ตามแบบตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวทศวรรษ 2430 และพัฒนาเป็นพาหนะหลักของคนกรุง แต่ต่อมาค่อย ๆ ลดจำนวนลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนรัฐได้ประกาศให้งดจดทะเบียนรถลากในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496… Continue reading ใบปลิวเรียกร้องของอู่ลากรถ
หนังสือทรัพยศาสตร์
หนังสือทรัพยศาสตร์ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของประเทศสยาม (ไทย) ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2454 ผู้เขียนคือพระยาสุริยานุวัตร หรือ เกิด บุนนาค ซึ่งเป็นขุนนางผู้ไม่พอใจในความล้าหลังของระบบเศรษฐกิจและการปกครองของรัฐบาล “ข้างคนชั้นต่ำถึงจะอุตส่าห์ทำการเหน็ดเหนื่อยสักเท่าใดก็ได้ค่าแรงไม่พอจะเลี้ยงชีพให้มีความสุขเสมอไม่ได้แต่ฝ่ายชนชั้นสูงแม้แต่จะไม่ได้ทำงานอย่างใดหากมีทุนทรัพย์สมบัติสะสมอยู่มากก็ได้รับผลประโยชน์ซึ่งเกิดจากทุนและทรัพย์สมบัตินั้นเป็นธรรมดา” หนังสือทรัพยศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ การผลิต การกระจายรายได้ การค้าและการแลกเปลี่ยน ภาคที่เป็นปัญหานำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์โดยฝ่ายรัฐบาล และถูกโจมตีทางการเมืองมากที่สุด คือ ภาคที่สองว่าด้วยการกระจายรายได้ เพราะกล่าวถึงกลไกความยุติธรรมของผลตอบแทน และที่มาของรายได้ของผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่าเช่าที่ดิน กำไร ค่าแรง สมาคมของคนงาน (แนวคิดในลักษณะสมัยกลาง ไม่ใช่แนวคิดสหภาพแรงงานยุคปัจจุบัน) แต่ถึงกระนั้น พระยาสุริยานุวัตรก็ไม่ได้สนับสนุนแนวทางการขบวนการสหภาพแรงงานที่มีการเจรจาต่อรองและการนัดหยุดงาน เพราะมองว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักการเสรีนิยมและเป็นการทำลายประโยชน์ของสังคม เช่นเดียวกันกับความเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกทั่วไป ท้ายที่สุดการอธิบายเนื้อหาในหนังสือโดยการพยายามอ้างอิงบริบทของสังคมขณะนั้น ทำให้รัฐบาลในช่วงเวลานั้นมองว่าทรัพยศาสตร์เป็นหนังสือแนวปฏิวัติจึงถูกห้ามตีพิมพ์และห้ามใช้ในการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 7 และกลายเป็นหนังสือต้องห้ามในที่สุด อ้างอิง แล ดิลกวิทยรัตน์. “แรงงานในทรัพย์ศาสตร์: ทัศนะทุนนิยมในยุคศักดินา.” ใน ประวัติศาสตร์แรงงานไทย (ฉบับกู้ศักดิ์ศรีกรรมกร), บรรณาธิการโดย ฉลอง สุนทราวาณิชย์ สุวิมล รุ่งเจริญ ศักดินา ฉัตรกุล… Continue reading หนังสือทรัพยศาสตร์