การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า

“โดนเข็มตำมือเขาบอกให้เอาน้ำมันหยดแล้วกัน” ชอเกียง แซ่ฉั่ว ผู้นำการต่อสู้ของแรงงานหญิงฮาร่า กางเกงยีนส์ฮาร่าเป็นกางเกงยีนส์ที่มีชื่อเสียงและขายดีมาก โดยมีเจ้าของเป็นนายทุนจีนเชื้อสายไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในซอยวัดไผ่เงิน ตรอกจันทร์ 3 โรง ต่อมากิจการได้กำไรดีจึงได้ขยายไปตั้งโรงงานที่อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐมอีก 1 โรง โรงงานที่ตรอกจันทร์ซึ่งเป็นโรงงานแรกเริ่ม คนงานเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นคนจีนเนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ในย่านคนจีน ขณะที่เจ้าของโรงงานได้กำไรมหาศาล แต่กลับไม่ได้สนใจคนงานปล่อยให้โรงงานมีสภาพแวดล้อมย่ำแย่และสวัสดิการที่เลวร้าย การขยายโรงงานไปยังที่ใหม่ทำให้นายจ้างพยายามจะเอารัดเอาเปรียบคนงานโดยการลดค่าจ้างคนงานในโรงงานเก่า คนงานพยายามจะเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518   คนงานโรงงาน 1 ที่ตรอกจันทร์และที่อ้อมใหญ่ภายใต้การนำของ ชอเกียง แซ่ฉั่ว ได้พร้อมใจกันนัดหยุดงาน เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสวัสดิการ แต่กลับได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรง หลังจากที่การนัดหยุดงานยืดเยื้อกว่า 3 เดือน คนงานได้ตัดสินใจยึดโรงงานที่วัดไผ่เงินมาทำการผลิตเอง โดยการขายหุ้น ระดมทุนจากประชาชนที่เห็นใจคนงานมาซื้อวัตถุดิบมาดำเนินการเอง โดยใช้ชื่อว่า “โรงงานสามัคคีกรรมกร” ทำการผลิตเสื้อและกางเกงยีนส์ออกจำหน่ายในราคาถูก ในที่สุดโรงงานสามัคคีกรรมกรของคนงานฮาร่าก็ถึงกาลอวสานเมื่อรัฐส่งเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามอย่างรุนแรง คนงานหลายคนถูกจับกุมดำเนินคดี ต่อมาได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาพิจารณากรณีพิพาทแรงงานโรงงานฮาร่าประกอบด้วยดร.เขียน  ธีระวิทย์  อารมณ์ พงศ์พงัน และดนัย บุญนาค คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งชี้ขาด ให้นายจ้างรับคนงานที่หยุดงานกลับเข้าทำงาน ตามปกติ แต่นายจ้างไม่ยอมรับ… Continue reading การต่อสู้ของแรงงานหญิง ฮาร่า

เหรียญวีรชน 14 ตุลา

เหรียญวีรชน 14 ตุลาฯ เป็นเหรียญที่ระลึกในการต่อสู้ของเหล่าวีรชนโดยปราศจากอาวุธ จากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนนท) จัดทำขึ้นเพื่อแจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพวีรชนผู้เสียชีวิต กรณี 14-15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ณ เมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2517  วันที่ ๑๔ ตุลา น่าอนาถ เขาพิฆาต เข่นฆ่า จนอาสัญ คือลูกแม่ อรรณพ ดิษฐสุวรรณ สู่สวรรค์ ชั้นวิมาน สะท้านใจ แต่นี้ไป ใครเล่า จะเรียกแม่ สุดทางแก้ เหลียวแล ชะแง้หา เจ้าไปแล้ว ไปลับ ไม่กลับมา แม่มีแต่ โศกา และอาดูร ขอฟ้าดิน จงเป็น พยานเถิด ให้ลูกข้า บังเกิด ในภพหน้า อย่ามีมาร ตามราญ ผลาญชีวา เป็นสุข… Continue reading เหรียญวีรชน 14 ตุลา

หนังสือพิมพ์ ฉบับสดุดีวีรชน

ภาพของ นาย ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว (ไอ้ก้านยาว) นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะกำลังถือไม้ขึ้นต่อสู้กับทหารที่มีอาวุธครบมือในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นช่างภาพที่เก็บภาพถ่ายนี้ คือ นายแปลก เข็มพิลา และได้รับการตีพิมพ์อยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ “ฉบับสดุดีวีรชน” ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2516 

โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

วัตถุจัดแสดงกลุ่มนี้เป็นการรวบรวม สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ หนังสือ เกี่ยวกับการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในช่วงเหตุการณ์วันมหาวิปโยค (วันที่ 14 ตุลาคม 2516) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลาฯ มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเป็นอย่างมากในหลายมิติ และยังก่อให้เกิดการฟื้นฟูขบวนการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่ถูกปราบปรามในช่วงยุครัฐบาลเผด็จการอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยุคถนอม ประภาส ณรงค์ ในปี 2516 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวขบวนการแรงงานของสหภาพแรงงาน ที่กลับมามีบทบาทสำคัญทั้งบทบาทการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ให้เพื่อนคนงานด้วยกันเองผ่านการนัดหยุดงาน ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก่อให้เกิดกระแสการนัดหยุดงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเป็นประวัติกาล ในปี พ.ศ. 2517 มีจำนวน 357 ครั้ง และในอีกสองปีถัดไปรวมกันจำนวนกว่า 374 ครั้ง  ตลอดจนบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องปัญหาทางสังคมในประเทศขณะนั้น และมีการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดร่วมกับกลุ่มพลังสำคัญของสังคม นั่นคือ ขบวนการนักศึกษา และขบวนการชาวนา อาจนับได้ว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการกรรมกรในยุค 14 ตุลาคม 2516 จนกระทั่งถึงยุคเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีส่วนร่วมกับขบวนการทางสังคมอื่น… Continue reading โปสเตอร์ หนังสือ และวารสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516