กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

ทศวรรษที่ 1980 กระแสโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ได้แพร่กระจายไปในขอบเขตทั่วโลก ได้ทำให้เกิดนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกแห่งหนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แม้เดิมทีแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมจะท้าทายต่อการดำรงอยู่ของกิจการรัฐวิสาหกิจไทยทุกยุคสมัยก็ตาม ภายหลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้จำต้องกู้เงินและขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และธนาคารโลก ที่ตั้งเงื่อนไขให้ไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งต้องถูกขายให้แก่เอกชนไป ทำให้มีการลุกขึ้นคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโดยพนักงานรัฐวิสาหกิจเอง และประชาชนทั่วไป มีการใช้ผ้าแดงคาดศรีษะ หมวก รวมถึงผ้าแดงพันคอที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงคัดค้านการตรากฎหมาย  11 ฉบับ หรือที่เรียกกันว่า กฎหมายขายชาติ การเคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกกฎหมายขายชาติ ที่มีกฎหมายขายรัฐวิสาหกิจ หรือ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยกลุ่มสมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และองค์กรประชาธิปไตยต่าง ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ตั้งแต่กฎหมายชุดเศรษฐกิจนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ ชวน หลีกภัย หลังจากนั้นเกิดการรวมตัวหลายเครือข่าย โดยมีองค์กรแรงงานที่ประกาศตัวชัด คือ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นตัวแทนร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติปี พ.ศ. 2545 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการผลักกฎหมายพิจารณาผ่านรัฐสภาและประกาศบังคับใช้ แม้ช่วงหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้าจะประกาศชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านกับกฎหมายชุดนี้ จึงนำมาสู่การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี… Continue reading กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้

โรงงานตุ๊กตาเกิดเพลิงไหม้ นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของคนงานเคเดอร์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 มีแรงงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน พิสูจน์ตัวตนจากซากศพไม่ได้จำนวน 10 คน ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน และจากการสำรวจพบว่ามีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวที่โรงงาน เสียชีวิตจำนวน 5 คน อยู่ชั้น ม.2 จำนวน 1 คน ชั้น ม.3 จำนวน 2 คน ชั้น ม.4 จำนวน 1 คน และชั้น ม.6 จำนวน 1 คน แรงงานที่เสียชีวิตเหล่านั้น มีบุตรกำลังศึกษาเล่าเรียน จำนวน 64 ราย และยังเป็นทารก จำนวน 19 ราย ปัญหาการเอาเปรียบคนงานของผู้ลงทุน โดนไม่สนใจความปลอดภัยในการทำงาน และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงปัญหาการดำเนินการสอบสวนปัญหาและช่วยเหลือคนงานผู้ประสบภัยของรัฐบาล ทำให้กลุ่มแรงงานต่าง ๆ รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการแรงงาน… Continue reading เสื้อคนงานเคเดอร์ หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้

ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้

ตุ๊กตาเหล่านี้ถูกเก็บมาจากซากโรงงานผลิตตุ๊กตาและของเล่นเด็ก บริษัท เคเดอร์อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ไทยจิว ฟู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายการผลิตทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอีกหลายแห่งทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 เวลาประมาณ 16.00 น. ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่จนกลายมาเป็นโศกนาฏกรรมของคนงานเคเดอร์ ส่งผลให้คนงานเสียชีวิตทั้งสิ้น 188 คน เป็นคนงานชาย 14 ราย ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคนงานหญิง 174 ราย ไม่สามารถพิสูจน์ซากศพเพื่อระบุตัวตนได้ จำนวน 10 คน รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บร่วม 469 คน โดยมีเด็กนักเรียนที่เข้าไปทำงานชั่วคราวในโรงงานอีกด้วย นับว่าเป็นอุบัติภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในภาคอุตสาหกรรมไทย สาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียจำนวนมาก เนื่องจากโรงงานดังกล่าวขาดมาตรฐานหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างอาคารที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อให้มีวัสดุหุ้มป้องกันไฟ ทำให้เมื่อเกิดไฟไหม้โครงสร้างจึงพังทลายลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีระบบเตือนภัย ประกอบกับเสียงเย็บจักรทำให้คนงานไม่ทราบเหตุการณ์ รวมถึงบันไดขนาดกว้าง 1.60 เมตร จำนวน 2… Continue reading ตุ๊กตาเคเดอร์ฯ จากเหตุการณ์เพลิงไหม้

ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน

ธงกระดาษที่แรงงานหญิงใช้ในการรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องในปี พ.ศ.2536 แรงงานสตรีได้ทำการรณรงค์เรียกร้องให้แรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องมาจากปี 2534 ของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน กับสหพันธ์แรงงานและกลุ่มแรงงานสตรีจากย่านพระประแดง อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และรังสิต ต่อคณะรัฐมนตรียุคอานันท์ ปันยารชุน โดยต่อมา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2534 รัฐบาลลองเริ่มนำร้องโดยการประกาศระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2535 เรื่องการลาคลอด 90 วันกับข้าราชการก่อน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 เป็นต้นไป เดิมทีข้าราชการสามารถลาคลอดและได้รับเงินเดือน 60 วัน ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ไม่เสียสิทธิในพิจารณาขั้นเงินเดือน เพิ่มให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมเป็น 90 วัน และหากต้องการลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อไปอีก ให้ลาได้ไม่เกิน 150 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน สำหรับแรงงานหญิงในภาคเอกชนกลับไม่มีมติ หรือนโยบายที่จะให้สิทธิเช่นเดียวกันกับข้าราชการหญิงทั่วไป และรัฐบาลยังได้ให้ความเห็นต่อสื่อว่า “ถ้าให้ลาได้ 90 วัน ต่อไปจะเกิดลูกหัวปีท้ายปีเพื่อให้ได้ลาคลอด” เพราะเดิมทีแรงงานสามารถลาคลอดได้เพียง 60 วัน… Continue reading ธงกระดาษประท้วงลาคลอด 90 วัน

จะเข้ของจิตร ภูมิศักดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชน นักคิด นักปฏิวัติคนสำคัญของประเทศ เป็นศิลปินที่แต่งเพลงสะท้อนปัญหาของชนชั้นแรงงานหลายต่อหลายเพลงในระหว่างที่เขาถูกจับกุม ในวันที่ 21 ตุลาคม 2501 โดยเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และถูกย้ายสถานที่คุมขังในช่วงต้นปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากนโยบายการไล่จับคอมมิสนิสต์ของคณะปฏิวัติ ทำให้คนล้นคุก และคุกไม่มีที่เพียงพอในการคุมขัง จิตร ภูมิศักดิ์ จึงถูกขังที่คุกลาดยาว โดยมีกิจกรรมอ่านหนังสือ เขียนกวีการเมือง และแต่งเพลง จำนวนหลายชิ้น จิตรมีเครื่องดนตรี “จะเข้” ชิ้นนี้ ใช้ในการประพันธ์เพลงสำคัญ ๆ หลายบทเพลงที่คุกลาดยาวในช่วงเวลานั้น

หนังสือพิมพ์กรรมกร

“…ด้วยเห็นทุกข์แก่เพื่อนกันเช่นนี้พวกเราซึ่งเป็นคนงานจึงได้รวบรวมเงินเล็กน้อยที่เข้าใจว่าเหลือจากนายจ้างอุบาทว์ได้รีดเอาไปโดยมิชอบธรรมคิดจัดตั้งหนังสือพิมพ์ขึ้น โดยขนานนามหนังสือพิมพ์นี้ว่า ‘หนังสือพิมพ์กรรมกร’ ด้วยความมุ่งใจเป็นส่วนใหญ่คือหวังจะประหารสภาพแห่งการเป็นทาษซึ่งเป็นฉายาแฝงอยู่ในตัวคนงานฤาลูกจ้างให้ปลาศไปและให้อิศรภาพเข้ามาแทนที่” ถวัติฤทธิเดช – คำนำของหนังสือพิมพ์กรรมกร27 มกราคม 2465 หนังสือพิมพ์กรรมกร (พ.ศ. 2465-2467) นับเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทต่อสมาคมคนงาน และสร้างสำนึกทางการเมืองของแรงงานเป็นอย่างยิ่ง ผ่านปัญญาชนเสรีนิยมที่เรียกตนเองว่า “คณะกรรมกร” หรือคณะกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ประกอบไปด้วย ถวัติ ฤทธิเดช, สุ่น กิจจำนงค์, ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร, ถวัลย์ ชาติอาษา และขุนสมาหาร หิตะคดี (โประ โปรคุปต์)  คณะกรรมกรได้กลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางความคิดและการเมืองแก่ขบวนการแรงงานในขณะนั้น ซ้ำยังเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิแรงงาน ปลูกฝังความคิดทางการเมืองและประชาธิปไตยแก่คนงาน รวมถึงการมีบทบาทในการจัดตั้งกรรมกรรถรางขึ้น ซึ่งกลายไปเป็นฐานสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเหตุการณ์กบฏบวรเดช ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะกรรมกร เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการผลักดันให้เกิดการรวมตัวเป็นสมาคมคนงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ (สังศิต พิริยะรังสรรค์, 2529) อ้างอิง สังศิต พิริยะรังสรรค์. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม… Continue reading หนังสือพิมพ์กรรมกร

เทียนวรรณ

เทียนวรรณ หรือ เทียน วัณณาโภ นามปากกา “ต.ว.ส. วัณณาโภ”  (พ.ศ. 2385 – 2458) นับเป็นหนึ่งในปัญญาชนหัวก้าวหน้าที่ปรากฏขึ้นในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยปัญญาชนหลายคนในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้เห็นถึงความสำคัญและความทุกข์ยากของผู้ใช้แรงงาน จนเกิดการสะท้อนปัญหา ตลอดจนเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้แก่ผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง ผ่านการใช้ปากกาและงานเขียนของตน หรือเคลื่อนไหวเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับผู้ใช้แรงงาน และหนึ่งในปัญญาชนนักคิดเหล่านั้นก็คือ “เทียนวรรณ”  เทียนวรรณ เป็นนักคิดสามัญชนรุ่นบุกเบิก เป็นทนายความ และเป็นผู้ทำหนังสือตุลวิภาคพจนกิจ และหนังสือศิริพจนภาค ออกมาเพื่อเผยแพร่ความคิดสมัยใหม่ เขาเป็นผู้เล็งเห็นความสำคัญของชนชั้นผู้ใช้แรงงานในขณะยุคสมัยนั้นที่ถูกเรียกขานว่า “ไพร่-ทาส” เขาเรียกร้องให้นำเอาระบบรัฐสภามาใช้ในการเมืองไทย เพื่อให้ผู้คนได้เสมอภาคกันในสังคม และนั่นทำให้เขาต้องถูกคุมขังอยู่นานถึง 17 ปี เนื่องจากความคิดของเขาก้าวหน้าเกินกว่าที่ผู้ปกครองในสมัยนั้นจะรับได้ ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย ขอให้เห็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่างนิ่งนาน ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

เอกสารต้นร่างสัญญาบัตรขุนนางในกรุง

สำหรับรัฐจารีตโบราณกระทั่งถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ “กำลังคน” ถือเป็นทรัพยากรสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร สังคมไทยในยุคอดีต “ระบบไพร่” ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและเกณฑ์แรงงานผู้คนให้มาทำงานและสร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐ และผู้ปกครอง (มูลนาย) ระบบไพร่ยังเป็นเครื่องมือในการกำหนดสถานภาพ หน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบของกลุ่มคนและเป็นเครื่องมือในการแบ่งชนชั้นและบ่งบอกชนชั้นในสังคม ณ ช่วงเวลานั้น มีข้อสันนิษฐานว่ารัฐจารีตของไทยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ได้แบ่งคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ถูกปกครอง ชนชั้นผู้ปกครองหรือมูลนายประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนาง ส่วนชนชั้นผู้ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ และ ทาส เอกสารต้นร่างสัญญาบัตรขุนนางในกรุงชิ้นนี้ คือ เอกสารการแต่งตั้งข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการกำหนดจำนวนศักดินาให้กับขุนนางต่างๆ