ประเภท: พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ประเทศ: สหรัฐอเมริกา แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): https://nmaahc.si.edu/
The Legacy Museum
ประเภท: พิพิธภัณฑ์แรงงาน ประเทศ: สหรัฐอเมริกา แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): https://museumandmemorial.eji.org/museum
American Labor Museum Inc
ประเภท: พิพิธภัณฑ์แรงงาน ประเทศ: สหรัฐอเมริกา แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): https://labormuseum.net
Workers Arts and Heritage Centre
ประเภท: พิพิธภัณฑ์แรงงาน ประเทศ: แคนนาดา แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): – https://wahc-museum.ca/
Museum of the Workers’ Struggle
ประเภท: พิพิธภัณฑ์แรงงาน ประเทศ: เมกซิโก แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): – Museum of the Workers’ Struggle – Museo de la Lucha Obrera (Mexico)
The Canadian Museum for Human Rights
ประเภท: พิพิธภัณฑ์แรงงานประเทศ: แคนนาดาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง(เวปไซด์/Facebook): –https://humanrights.ca/labour-rights-tour
สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
อีเมล์: info@justeconlabor.org Facebook: https://www.facebook.com/JustEconLaborInstitute Website: http://www.justeconomylabor.org/
กระแสการเมืองและการถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
เนื่องด้วยในปัจจุบันได้มีปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในที่ทำงาน ในกระบวนการต่าง ๆ ประกอบด้วย กระบวนการรับสมัคร การเลื่อนขั้นเงินเดือน การจัดวางตำแหน่ง ตลอดจนการสิ้นสุดการจ้าง ยังคงมีเงื่อนไขของการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง ในช่วงยุคสมัยปัจจุบันที่ทุกคนตื่นตัวมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างชัดเจน หากพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับปัจจุบัน จะพบว่ากฎหมายครอบคลุมเพียงการเลือกปฏิบัติในมิติความเท่าเทียมทางเพศเท่านั้น ในขณะที่ประเด็นอื่น ๆ อย่างการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านทัศนคติทางการเมือง ความเชื่อ ศาสนา ค่านิยม การศึกษา และอื่น ๆ กลับไม่ได้ถูกรับรองเอาไว้ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ฝ่าย HR ของบริษัทต่าง ๆ เริ่มไปสอดส่องตามแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ของผู้สมัครงานหรือพนักงานบางรายหากหาไม่ได้ก็จะพยายามสืบผ่าน Digital Footprint เพื่อดูพื้นหลังทางความคิดของบุคคลคนนั้นว่าตรงใจกับตนเองหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมการแสดงออกทางการเมืองผ่านรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การบังคับใส่เสื้อสี การสั่งให้เข้าร่วมหรือไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง หากมีพนักงานขัดขืนก็อาจถูกประณามได้ นอกจากนี้กฎหมายในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ได้ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติเช่นนี้ทั้งในระดับกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ ถึงจะเป็นความจริงที่ว่าในรัฐธรรมนูญไทยฉบับปี 2560 จะให้สิทธิแก่บุคคลในการแสดงออกและความคิดเห็นทางการเมือง และการไม่ถูกเลือกปฏิบัติในมิติความแตกต่างทางถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ… Continue reading กระแสการเมืองและการถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง
การฝึกงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานรุ่นใหม่ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทว่าในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนอาชีวะ หรือนักศึกษาฝึกงานตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กลับไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายที่มีการตั้งข้อกำหนดของการฝึกงานที่แน่ชัด จนไปถึงการนิยามคำว่า “ผู้ฝึกงาน” ที่ส่งผลให้เกิดช่องว่างที่นายจ้างใช้ประโยชน์จากผู้ฝึกงานเป็นแรงงานราคาถูกนอกกฎหมาย โดยที่กฎหมายแรงงานไม่สามารถคุ้มครอง และเกิดปัญหาการฝึกงานที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้แรงงานขาดทักษะที่ควรได้รับจากการฝึกงาน ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในกลุ่มแรงงานจบใหม่เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ ปัญหานี้ก่อตัวเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษของโควิด-19 ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงาน ประเทศไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับการฝึกงาน เพื่อคุ้มครองผู้ฝึกงาน พัฒนาทักษะแรงงานจบใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำของผู้ฝึกงาน และลดอัตราการว่างงานของแรงงานจบใหม่ภายในประเทศ จึงมีการศึกษานโยบายตัวอย่างของต่างประเทศ และรวบรวมข้อเสนอเพื่อนำมาผลักดันในสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกัน ผ่าน 6 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จัดทำพระราชบัญญัติการฝึกงานให้ครอบคลุม 12 ประการ 2) นายจ้างจะต้องทำประกันคุ้มครองให้แก่ผู้ฝึกงาน 3) ผู้ฝึกงานสามารถเข้าร่วมสหภาพแรงงานได้ 4) จัดให้มีการลงทะเบียนสถานประกอบการที่สามารถเปิดรับผู้ฝึกงาน เพื่อให้มีคุณภาพและตรวจสอบการฝึกงานให้เป็นไปตามมาตรฐานตลอดกระบวนการฝึกงานได้ 5) จัดให้มีการจัดสอบวัดผลหลังจบการฝึกงาน เพื่อเป็นการประเมินคุณภาพของผู้ฝึกงานและสถานประกอบการ 6) รัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายโครงการค่าจ้างผู้ฝึกงานคนละครึ่งกับสถานประกอบการ ในอัตราส่วนละ 50% ทั้งนี้หน่วยงานของภาครัฐที่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษาฯ และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ข้อเสนอการยกระดับการฝึกงานในประเทศไทยชุดนี้ ได้ถูกเสนอผ่านคณะอนุกรรมาธิการด้านการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรัฐสภา เมื่อเดือนมีนาคม 2564… Continue reading นักศึกษาฝึกงาน แรงงานรุ่นใหม่ที่ไร้กฎหมายคุ้มครอง
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย
รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ถูกพูดถึงในสังคมวงกว้างเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อมีการระบาดทั่วของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 การระบาดใหญ่ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้ประชาชนทุกคนเดือดร้อนและลำบากโดยทั่วกัน เนื่องด้วยมาตรการการรองรับต่าง ๆ รวมถึงการเยียวยาที่ไม่ทั่วถึง ตกหล่น และคัดกรองหลายขั้นตอนจนทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนเข้าไม่ถึงสวัสดิการต่าง ๆ สถานการณ์ระบาดครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นการรื้อปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถูกกลบอยู่ใต้พรมโผล่ออกมาให้ทุกคนได้เห็นอย่างถ้วนหน้า เกิดการวิพากษ์ระบบสวัสดิการในประเทศ ตลอดจนมีการนำเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นในสังคมทั้งเวทีเสวนาทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่แท้จริงแล้ว ในประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องนี้มาอย่างช้านาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนที่มีเงื่อนไขสวัสดิการและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรก อันเป็นภาพสะท้อนจากการต่อสู้ทางชนชั้น ในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า ที่มีการรวมกลุ่มของสหภาพแรงงาน มีลักษณะสำคัญคือระบบอัตราภาษีก้าวหน้า โดยเน้นสวัสดิการในฐานะสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างถ้วนหน้า ซึ่งแตกต่างจากระบบสวัสดิการแบบกลไกตลาดที่ปัจเจกรับผิดชอบสวัสดิการของตัวเองหรือการลงทุนผ่านประกันเอกชน และรูปแบบประกันสังคมที่เน้นไปที่ผู้ทำงานผ่านระบบการจ้าง รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า นับว่าเป็นข้อเสนอหลักของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดย ปรีดี พนมยงค์ รวมถึงขบวนการแรงงานหลังจากนั้นทุกยุคสมัย แม้แต่ช่วงการแตกแยกทางอุดมการณ์สองสีเสื้อ รัฐสวัสดิการก็ยังเป็นคำที่ถูกใช้และช่วงชิงอยู่เสมอระหว่างขบวนการแรงงานด้วยกัน หรือแม้แต่ฝั่งทุนก็ตาม แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยที่การรวมตัวของประชาชน นักศึกษา และแรงงาน สามารถสร้างแรงกดดันขับไล่ให้ 3 ทรราชย์ ถนอม ประพาส ณรงค์ ต้องหมดอำนาจและออกไปจากประเทศได้… Continue reading รัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย