ในปี พ.ศ. 2500-2501 ช่วงปลายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการจัดประกวดเรียงความหัวข้อ “งานทุกอย่างเป็นเกียรติแก่ตน” ซึ่งเป็นดำริของจอมพล ป. ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องแรงงานโดยตรงในขณะนั้น การประกวดเรียงความจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงาน วันแรงงานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2500 ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้สามารถมีการจัดกิจกรรมวันแรงงานได้อีกครั้งในปี พ.ศ.2499 ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น โดยรัฐบาลให้งบจัดกิจกรรมจำนวน 25,000 บาท แบ่งออกเป็น 9 รางวัล ได้แก่ รางวัลที่ 1 รางวัลละ 5,000 บาท รางวัลที่ 2 รางวัลละ 3,000 บาท รางวัลที่ 3 รางวัลละ 2,000 บาท รางวัลชมเชยจำนวน 6 รางวัลเป็นกล่องบุหรี่ ปรากฎว่าไม่มีใครได้รางวัลที่ 1 และรางวัลที่สองเป็นของภิกษุวัฒนา นวลสุวรรณ เรียงความชนะได้รับรางวัลถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือ จำนวน 5,000 เล่มและอ่านออกอากาศทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงปลายของยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีสถานการณ์ขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์… Continue reading เอกสารบันทึกกรมแรงงาน การประกวดบทเรียงความ วันกรรมกรแห่งชาติ พ.ศ. 2500
วันกรรมกรสากล
ภาพถ่ายการชุมนุมวันเมย์เดย์ และรูปถ่ายขบวนแถวของกรรมกรที่ร่วมเดินขบวน เนื่องในการจัดงานฉลองวันกรรมกรสากล เมื่อบันทึกภาพไว้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2500 โดยวารสารปิตุภูมิ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2500 (ปีที่ 2 ฉบับที่ 57) ซึ่งทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกจะจัดงานเฉลิมฉลองและการชุมนุมใหญ่เพื่อแสดงพลัง ทั่วไปเรียกว่า “วันกรรมกรสากล” หรือ “วันเมย์เดย์” ในประเทศไทยมีการจัดวันกรรมกรอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะครั้งแรกปี พ.ศ.2489 โดยสมาคมสหอาชีวะกรรมกรนครกรุงเทพฯ และสมาคมไตรจักร์ สมาคมของคนถีบสามล้อ และในปี 2490 ก็ได้จัดงานวันกรรมกรสากลอย่างยิ่งใหญ่บริเวณท้องสนามหลวง มีคนเข้าร่วมงานกว่าแสนคน เนื่องจากก่อนหน้านั้นรัฐบาลมองว่าวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันของฝ่ายซ้าย ไม่สามารถจัดกิจกรรมเปิดเผยได้ จนกระทั่งเกิดรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 วันกรรมกรสากลก็กลายเป็นวันต้องห้ามอีกครั้ง รัฐบาลแทรกแซงสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในขบวนการแรงงานไทย โดยส่งคนจัดตั้งองค์กรแรงงานใหม่ในนาม สมาคมกรรมกรไทย และสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้ปีละหลายแสนบาท ในช่วงปี พ.ศ.2499 องค์แรงงานได้หันมาจับมือกันจัดตั้งร่วมกันอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแยกและกระจัดกระจาย ในชื่อกลุ่มกรรมกร 16 หน่วย กลุ่มได้เรียกร้องต่าง… Continue reading วันกรรมกรสากล
เอกสารรายงานนัดหยุดงานของคนงานโรงสี
ภายหลังสงครามยุติลง ทหารพันธมิตรเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นและบังคับให้รัฐบาลไทยต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม โดยให้ส่งข้าวสารจำนวนสองแสนตันแก่อังกฤษ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้นปี 2489 รัฐบาลจึงเร่งให้โรงสีผลิตข้าวสารทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้คนงานโรงสีทำงานหนักเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว สหบาลกรรมกรกรุงเทพฯ จึงยื่นข้อเสนอแก่ฝ่ายนายจ้างให้ปรับปรุงค่าแรงและสวัสดิการ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2488 แต่บริษัทได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องทั้งหมดโดยอ้างเรื่องการช่วยเหลือรัฐบาล การเจรจาผ่านไปหลายวันจนกระทั่งวันที่ 19 พฤศจิกายน กรรมกรโรงสีเอกชน 21 โรง จำนวน 1,500 คน เริ่มต้นสไตรค์หยุดงาน ก่อนที่กรรมกรโรงสี โรงข้าวสารรวม 50 โรง จำนวนกรรมกรเพิ่มเป็น 3,000 คน พร้อมกันนั้นกรรมกรไทยฝ่ายโรงจักร กุลีท่าเรือ และกรรมกรขนส่งทางน้ำ ต่างพากันหยุดงานมาสนับสนุนด้วย กลายเป็นการสไตรค์แบบทุกภาคส่วน จนถูกฝ่ายนายทุนกล่าวหาโดยใช้หนังสือพิมพ์ปรักปรำว่า การสไตรค์นี้มีอิทธิพลอั้งยี่หนุนหลัง แต่ท้ายที่สุดฝ่ายนายทุนโรงข้าวและโรงสีเอกชนยินยอมตกลงลงนามทำสัญญาต่อกันในวันที่ 27 พฤศจิกายน กรรมกรโรงสี โรงข้าวเอกชน จำนวนกว่า 2,000 คน จึงกลับเข้าทำงานตามเดิม ส่วนทางบริษัทข้าวไทยยืนกรานไม่ยอมรับข้อเสนอของกรรมกรที่สไตรค์ และได้ใช้วิธีการข่มขู่ งดเลี้ยงอาหาร จ้างนักโทษและกุลีตามรถไฟมาแย่งงานแทน เพื่อทำการบีบบังคับให้ฝ่ายกรรมกรยอมแพ้ แต่แล้วกรรมกรโรงสีได้จัดขบวนเข้าสมทบกับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ… Continue reading เอกสารรายงานนัดหยุดงานของคนงานโรงสี
ข้อความจดบันทึกของ จอมพล ป.
เอกสารชิ้นนี้เป็นบันทึกขนาดสั้นด้วยลายมือของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2486 ซึ่งเป็นช่วงระหว่างสงครามโลก โดยจอมพล ป. ได้ไปดูงานที่คลังแสงทหารบกและพบว่า “กัมกรหยิง” ในโรงงานแห่งหนึ่ง ได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าแรงงานชาย ทั้งที่ในโรงงานส่วนใหญ่มีแรงงานสตรีเป็นหลัก ค่าจ้างที่แรงงานหญิงเหล่านี้ได้รับคือ ชั่วโมงละ 5 สตางค์เพียงเท่านั้น เห็นว่าไม่น่าจะพอใช้จ่ายยังชีพ จึงทำบันทึกสั้น ๆ ระหว่างไปเยี่ยมโรงงานถึง พ.อ.ไชยา ผู้เกี่ยวข้อง ให้รับรู้และไปดำเนินการ หาทางแก้ไข เพื่อให้มีการปรับปรุงค่าจ้างให้สูงขึ้น
หนังสือพิมพ์สุวรรณภูมิเริ่มสงวนอาชีพให้คนไทย
ในยุครัฐบาลจอมพล ป. หนังสือพิมพ์สุวรรณภูมิ ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2484 พาดหัวข่าวประเด็นร่างพระราชบัญญัติสงวนอาชีพและวิชาชีพ พ.ศ.2484 ผ่านสภาผู้แทนราษฎร และจะถูกประกาศใช้ในเร็ววัน โดยเริ่มจากการสงวนการอาชีพทางผมให้แก่คนสัญชาติไทยเท่านั้น (ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ) ไม่กี่เดือนต่อมา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกาอันเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว ประเทศไทยตกเป็นเป้าโจมตีทางอากาศโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ปีเดียวกันนั้นได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ เหตุการณ์ทั้งสองนี้ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและเกิดการขาดแคลนสินค้า อาหาร กิจการธุรกิจของฝ่ายสัมพันธ์มิตรถูกยึดครอง มีผู้คนจำนวนมากต้องตกงาน รัฐทำการแก้ปัญหาโดยการประกาศสงวนอาชีพบางอย่างไว้ให้กับคนไทยอย่างจริงจัง ทั้งยังหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมหลายประเภทเช่นโรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตเสื้อผ้า โรงงานผลิตกระสอบ ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ทำให้มีการอพยพแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น การใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพในการบุกเข้าสู่ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษโดยญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้พยายามบีบให้รัฐบาลควบคุมค่าจ้างแรงงานไว้ โดยเสนอให้มีการออกเป็นกฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นสูงไว้ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยเพราะถือเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของคนงาน ตรงกันข้ามกลับกลายเป็นตัวกระตุ้นให้รัฐบาล หันมาทำการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของคนงานอย่างแท้จริงว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่จะทำให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ควรเป็นเท่าไร ซึ่งถือเป็นการสำรวจค่าครองครองชีพของคนงานเป็นการใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย การที่บ้านเมืองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลทหารและการครอบครองของกองทัพญี่ปุ่นทำให้เสรีภาพของคนงานถูกลิดรอน กรรมกรส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันเคลื่อนไหวเป็นขบวนการใต้ดิน ทำงานร่วมกับขบวนการเสรีไทยและขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อคัดค้านรัฐบาลจอมพล ป. และกองทัพญี่ปุ่น
เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ตัดสินใจนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะโดยร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น กรมโฆษณาการจึงได้จัดทำโปสเตอร์สังกะสีออกปิดตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อชวนเชื่อกับประชาชนคนไทยในขณะนั้นว่า “พี่น้องชาวไทยจงมีความสามัคคีกัน จงเชื่อมั่นในรัฐบาลและกองทัพของเรา มีความเชื่อมั่นว่าเราต้องชะนะ จงระลึกเสมอว่า ข่าวที่มาจากศัตรูย่อมเป็นข่าวร้ายต่อเรา และข่าวที่ไม่ดีสำหรับเราก็คือข่าวของศัตรู” และ “อังกฤษเป็นศัตรูของพวกเรา จงร่วมใจทำลายผู้รุกรานด้วยกันและขอให้ไทยเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งขอให้บรรลุผลการวางระเบียบโลกใหม่ในอาเซีย” ในกาลต่อมาที่รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา ซึ่งเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว และทำให้ประเทศไทยตกเป็นเป้าโจมตีทางอากาศโดยฝ่ายพันธมิตร จนเกิดเหตุการณ์ภาวะเงินเฟ้อ การขาดแคลนสินค้า และขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงจากการถูกยึดครองกิจการธุรกิจ ทำให้เกิดภาวะคนตกงานจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในช่วงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2481 ช่วงพันเอกหลวงพิบูลสงครามเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น เดิมทีเป็นช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดทั้งสถานการณ์ภายในและระหว่างประเทศ รัฐบาลได้มีนโยบายสำคัญที่เรียกว่า “นโยบายสร้างชาติ” คือการนำสยามประเทศเข้าสู่ความเป็นอารยะและมหาอำนาจ เพื่อบรรลุนโยบายดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการหลายประการอาทิ การปลุกเร้าประชาชนด้วยนโยบายผู้นำนิยม สร้างลัทธิชาตินิยมอย่างเข้มข้นขึ้น มีการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยชักจูงใจให้ชาวไทยรวมพลังสามัคคีเพื่อสร้างชาติ และเพื่อให้คนไทยมี “วัฒนธรรมดี มีศีลธรรมดี มีอนามัยดี มีการแต่งกายอันเรียบร้อย มีที่พักอาศัยดี และมีที่ทำมาหากินดี” รัฐได้ใช้เครื่องมือหลายอย่างเพื่อบรรลุนโยบายดังกล่าว อาทิ การสร้าง “รัฐนิยม”… Continue reading เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
เข็มขัดรัฐพาณิชย์
“จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดตาย” นี่คือคำมั่นสัญญาของรัฐบาลคณะราษฎร ที่ได้ประกาศชัดเจนในหลัก 6 ประการ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สยามประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยที่รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชไม่อาจแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปรากฏว่ามีคนตกงานจำนวนมากและถือเป็นปัญหาใหญ่ของชาติกระทั่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเหล่ากรรมกรว่างงานได้ทำหนังสือถึงรัฐบาล ให้จัดหางานให้ทำ รัฐบาลได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหางานขึ้น 2 ฉบับคือ “พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางาน” และ “พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น” นับเป็นนโยบายแรกของรัฐบาลประชาธิปไตยเกี่ยวกับกรรมกร โดยเป็นนโยบายการหางานให้กรรมกรทำและให้กรรมกรที่ว่างงานไปลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางาน รวมทั้งได้มีการจัดตั้งแผนกจัดหางานขึ้นในกระทรวงมหาดไทยในปี 2476 นับเป็นหน่วยงานแรกของรัฐที่เข้ามาทำหน้าที่ดูแลงานด้านแรงงานโดยตรง ในปี 2476 รัฐบาลคณะราษฎร โดย ปรีดี พนมยงค์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้วางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยปรีดีเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร โดยใช้แนวทางสังคมนิยมเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตั้งหลักประกันสังคม รวมถึงการจัดสรรที่ดินและแบ่งปันกำไรอย่างเสมอภาค แต่ท้ายที่สุดกลับถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอำนาจเก่า ตลอดจนถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐบาลคณะราษฎรจึงเลือกแนวทางประนีประนาม และใช้นโยบายทางเศรษฐกิจชาตินิยม โดยรัฐบาลได้เข้าไปริเริ่มดำเนินกิจการอุตสาหกรรมด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ แทนที่กิจการของชาวต่างชาติ หรือที่เรียกว่า “รัฐพาณิชย์” หรือ “ทุนนิยมโดยรัฐ” เช่น กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ทั้งยังได้ดำเนินการจัดสรรจ้างแรงงานไทยให้เข้าทำงานในกิจการของรัฐมากยิ่งขึ้น นโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อหลวงพิบูลสงคราม และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง กิจการของชาวต่างชาติหลายอย่างได้ถูกถ่ายมาอยู่ในมือนักลงทุนไทยและรัฐมากขึ้น ซึ่งปรากฏชัดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอันเป็นช่วงที่ทุนตะวันตกอ่อนแอ
เอกสารก่อตั้งสมาคมรถราง
ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวเป็นสโมสรและสมาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 แต่คนงานและผู้ใช้แรงงานไม่เคยได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนเป็นสมาคม แม้มีการยื่นขอจดทะเบียนสมาคมของคนงานหลายต่อหลายครั้ง จึงมีเพียงการรวมตัวกันของแรงงานจีนในรูปแบบของสมาคมลับอั้งยี่ ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกรรมกร และต่อมาได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อรัฐบาลออกพระราชบัญญัติอั้งยี่ขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมสมาคมลับของชาวจีน และเพื่อให้มีการจัดตั้งสมาคมแบบเปิดเผยเป็นทางการขึ้นอันเป็นการสะดวกแก่การตรวจสอบดูแลของรัฐ แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยังไม่ยินยอมที่จะให้แรงงานได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมคนงานขึ้นตามกฎหมายใหม่นี้ แม้จะมีแรงงานหลายกลุ่มพยายามยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาคมของแรงงานรายใดได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องรอจนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ไปแล้ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สิทธิเสรีภาพของชนชั้นล่างได้รับการยอมรับมากขึ้น กรรมกรเริ่มมีปากมีเสียง เริ่มรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กร และในเดือนสิงหาคมปีนั้นเอง สมาคมของคนงานที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคมแรกคือ “สมาคมคนงานรถรางสยาม” ที่นำโดย นายถวัติ ฤทธิเดช ปัญญาชนที่มีบทบาทอันโดดเด่นมาก่อนหน้านี้ในฐานะนักหนังสือพิมพ์กรรมกร และนักจัดตั้งแรงงาน สมาคมคนงานรถรางสยามจึงได้รับการยอมรับให้จดทะเบียนเป็นสมาคมของคนงานแห่งแรกอย่างถูกต้อง และมีใบเอกสารจดทะเบียนของสมาคมรถราง ใบบันทึกสภาผู้แทนราษฎร คำสั่ง 119 อย่างเป็นทางการตามกฎหมาย
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองตอนย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่อำนาจเด็ดขาดอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้นนำโดยคณะบุคคลที่เรียกว่า “คณะราษฎร” อันประกอบด้วยข้าราชการทหาร ข้าราชการพลเรือน และประชาชนจำนวนหนึ่งที่มองเห็นว่าระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ขณะนั้นล้าหลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ รวมถึงผู้ใช้แรงงานส่วนหนึ่งได้เข้าไปร่วมในขบวนการอภิวัฒน์ครั้งนั้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมคนงานรถรางและสมาคมคนงานรถไฟ ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกป้องพิทักษ์ประชาธิปไตย ร่วมกับรัฐบาลคณะราษฎร ประชาชนจำนวนมาก และสหภาพแรงงานหลายแห่ง ในการต่อต้านการก่อกบฏของบวรเดช ในขณะที่พลเอกพระองค์เจ้าบวรเดชได้นำกำลังทหารจากหัวเมือง เพื่อหมายที่จะยึดอำนาจและล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เพิ่งถูกสถาปนาขึ้น ในเดือนตุลาคม 2476 ถวัติ ฤทธิเดช และสุ่น กิจจำนงค์ นักหนังสือพิมพ์กรรมกรและผู้นำการต่อสู้ของกรรมกรรถราง รวมทั้งกรรมกรภายใต้การจัดตั้งจำนวน 3,000 คน ได้ขอเป็นอาสาสมัครไปรบกับกำลังฝ่ายขบถต่อพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แต่พวกเขาถูกขอกำลังกรรมกรช่วยทำหน้าที่รักษาความสงบภายในพระนครและธนบุรี พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ในการปราบกบฏคราวนั้นจนเป็นผลสำเร็จ หลังเหตุการณ์นั้น รัฐบาลได้ทำเหรียญมอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาล เรียกว่า “เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ และเชิดชูในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ยึดมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงของพวกเขา อ้างอิง สังศิต พิริยะรังสรรค์. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
กฎหมายแรงงานฉบับแรก
แม้สยามจะเป็นประเทศหนึ่งที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ครั้งแรก) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2462 โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทั้งหลาย ตรากฎหมายแรงงานขึ้นเพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน แต่รัฐบาลสยามขณะนั้นก็ยังไม่ยินยอมตรากฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ โดยให้เหตุผลว่าประเทศสยามเป็นประเทศกสิกรรมมีแรงงานจำนวนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม องค์กรแรงงานระหว่างประเทศก็เร่งรัดตลอดมา เพื่อให้ประเทศสยาม (ไทย) ตราพระราชบัญญัติแรงงานออกมาใช้ จนในที่สุดรัฐบาลก็ได้ทำร่างกฎหมายแรงงานฉบับแรกออกมาในปี พ.ศ. 2470 เรียกว่า “พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมและกรรมกร 2470” ร่างกฎหมายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การคุ้มครองและดูแลความปลอดภัยในการทำงานของกรรมกร แต่ก็ยังไม่มีการให้สิทธิแก่คนงานในการจัดตั้งองค์กร (สหภาพ) และไม่ให้อำนาจกับแรงงานในการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวฉบับไม่ได้ถูกประกาศใช้แต่อย่างใด โดยมีเพียงแค่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจ้างแรงงาน ในปี พ.ศ. 2472 เท่านั้น กาลต่อมาได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499” ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 ถือว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรกของไทย ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องของ การจำกัดชั่วโมงการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ สิทธิหยุดลาคลอด การรวมตัวก่อตั้งสหภาพแรงงาน การห้ามใช้แรงงานเด็ก และสวัสดิการในที่ทำงาน เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์… Continue reading กฎหมายแรงงานฉบับแรก